รวบรวม25กฎของอาจารย์บุญชัย
Tense หลักมีทั้งสิ้น 9 ตัว และมี ตัวรองอีก 3 ตัวคือ กลุ่ม Perfect Continuous
และกลุ่มที่ใช้ในรูปของ Grammar คือ Future in the past
เทคนิคในการจำ:
ในการจำ Tenses จำต้องจำ 2 ส่วนประกอบกันคือ
รูปของ Tenses และวิธีการใช้งาน
ความรู้พื้นฐานก่อนจำ1) กระบวนการของ Tenses
มี 2 แถวแนวตั้ง คือ กลุ่ม Past, Present, Future
แถวแนวนอนคือ กลุ่ม Simple, Continuous, Perfect
เป็นหลัก และตัวเสริมย่อยคือ Perfect Continuous และ Future in the past จะอธิบายต่อไป
2) อารมณ์และความรู้สึก
สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพิจารณา Tenses ใส่อารมณ์เบื้องต้นดังนี้
กลุ่มแนวตั้ง
Past = สิ่งอดีต ตายและจบ แล้วสิ้นสุดแล้ว เหมือนกับสุสานหลุมฝังศพคน เวลาจะพูด เขียนสื่อ
Present = สิ่งปัจจุบันขณะ และรูปแบบทั่ว ๆ ไปเป็นประจำ ๆ
Future = สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในอนาคต
กลุ่มแนวนอนSimple = ทั่ว ๆ ไป ภาพนิ่ง
Continuous = ภาพขยับ
Perfect = เดินการตลอดเวลาเป็นช่วง
พอได้พื้น ทั้ง 2 กลุ่มแนวตั้งและแนวนอนทีนี้เรามาเริ่มใส่อารมณ์ผสมผสานได้ง่ายล่ะ
1) การจำรูป Tenses
เป็นเสมือนการจำสูตร
ให้ไล่ตาม Step ดังนี้ แล้วจะสามารถไล่ได้เองครับ
ให้ฝึกตามนี้จนคล่อง แล้วมันก็จะขึ้นใจเองเวลาเราใช้เหมือนสูตรคูณ
ที่เราจะต้องนั่งท่อง 2x1 = 2, 2x2 =4 เช่นนี้
แต่ Tenses ก็เช่นกันให้ฝึกดังนี้
เหมือนการ derive สมการทางคณิตศาสตร์ พวกสูตร integrate หรือ diffential
มี 5 หลักการดังนี้
หลักที่ 1: กลุ่มภาพนิ่ง (Simple) ใช้ V ผันธรรมดา คือ Present-->V1, Past-->V2 และ ในกรณีเป็น Perfect Simple---> V3
หลักที่ 2: กลุ่มภาพขยับ (Continuous) ใช้ Ving เป็นตัวแทรกผัน
หลักที่ 3: กลุ่มสมบูรณ์ (Perfect) ใช้ Verb ช่วย has/have/had เป็นตัวช่วย
หลักที่ 4: กลุ่มอนาคตในปัจจุบัน (Future) ใช้ Verb will/shall เป็นตัวช่วย
หลักที่ 5: กลุ่มอนาคตในอดีต (Future in the past) ใช้ Verb would/should เป็นตัวช่วย
หลักที่ 6: ผันกลุ่มอื่น ๆ นอกเหนือใช้ Verb to be เข้าช่วย
หมายเหตุ V1 = Verb ช่องที่ 1; V2=Verb ช่องที่ 2; V3=Verb ช่องที่ 3
หลักในการไล่รูปต้องไล่ลำดับความสำคัญ ดังนี้ ---> หลักที่ 1 สำคัญกว่าหลักท้าย ๆ
Step
- เริ่มต้นเขียนแนวตั้งและแนวนอน เป็นตาราง
Past Present Future Future in the past
Simple
Continuous
Perfect Simple
Perfect Continuous
- ตั้งต้นที่ Present Simple ---> = V1
- ผันเป็น continuous ---> เปลี่ยนจาก simple --> เป็น is/am/are+Ving
- ผันเป็น Perfect Simple ---> ใช้ have มาช่วย เป็น has/have+V3
- ผันเป็น Perfect Continuous ---> คือ นำ Perfect ซ้อนกับ Continuous --->
Step --> นำ perfect วางก่อน = has/have+V3
นำ Continuous มาต่อ = [has/have+V3] + [is/am/are+Ving]
ในการเชื่อมผสานคิดเหมือนคำสมาธิในภาษาไทย คือ ต้องผันค่าเปลี่ยน tense ของตัวหน้า
จะได้ = has/have+been+Ving นั่นคือ is/am/are เปลี่ยนเป็น V3
- ทีนี้เราก็จะได้แนวตั้งแถวแรกดังนี้
Past Present Future Future in the past
Simple V1
Continuous is/am/are+Ving
Perfect Simple has/have+V3
Perfect Continuous has/have+been+Ving
- ขั้นถัดไปทำการผันไปด้านข้างดังนี้
Past --> เอาเฉพาะตัวแรกผันเป็น Verb ช่องสอง
Future --> ผันเอา will/shall มานำหน้า
Future in the past --> ผันเอา would/should มานำหน้า
ก็จะได้ตามนี้
Past Present Future Future in the past
Simple V2 <------------- V1 ------------------------> will/shall+V1 ---------------> would/should+V1
Continuous was/were+Ving <---- is/am/are+Ving -----------> will/shall+be+Ving ---------> would/should+be+Ving
Perfect Simple had+V3 <------- has/have+V3 --------------> will/shall+have+V3 --------> would/should+have+V3
Perfect Continuous had+been+Ving <- has/have+been+Ving -> will/shall+have+been+Ving-> would/should+have+been+Ving
หมายเหตุ : เกร็ดเล็กน้อยเวลาผัน tensesหลัง will/shall+have เท่านั้นใช้ has ไม่ได้ครับ (would/should ก็ทำนองเดียวกันครับ)
ในกรณีเดียวกัน หลัง verb ช่วย หากมี verb to be ต้องใช้รูปฐานคือ be,were,been ครับ
จะใช้ is/am/are หรือ was ไม่ได้ครับ
ทีนี้เราก็จะได้รูปทั้งหมดล่ะ รูปดังกล่าวจะเป็นรูปในเชิง Active ในกรณีที่เป็นรูป Passive ก็ให้นำ Verb to be+V3 มาต่อจากรูป Active
ก็ใช้หลักการสมาธิเหมือนเดิมครับ สำหรับ Detail การผันรูป และการใช้งานรูปในกรณีเป็น Active และ Passive ผมจะอธิบายต่อใน Voice ครับ
2) การจำวิธีการใช้งานมีเทคนิคดังนี้
หลักการจำในการ feel เบื้องต้นคือ
1. กลุ่ม continuous จะเป็นภาพขยับทั้งหมด คิดง่าย ๆ เหมือนกับเป็นพวก hyper active
2. กลุ่ม Simple จะเป็นภาพนิ่ง คิดง่าย ๆ เหมือนคน สมถะเรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ
3. กลุ่ม Perfect จะมีอะไรบางอย่างที่พิเศษออกไปแตกแยกไม่เหมือนคนอื่น
4. กลุ่ม Past จะเป็นภาพที่อยู่ในอดีต คิดว่าภาพที่จะพูดต้องเป็นภาพขาวดำเสมอ หรือภาพสุสาน
5. กลุ่ม Present อันนี้จะเป็นภาพปัจจุบัน และเป็นสิ่งที่จำต้องเป็นความจริงเสมอไป
(จริง ๆ ก็ใช้ยากมากมายเพราะหาสิ่งจริงแท้ 100% มันยากหนอ)
6. กลุ่ม Future อันนี้จะพูดถึงเหตุการณในอนาคต ภาพจะเป็นทำนองพวกเพ้อฝันกลางวัน
ในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น (ซึ่งก็น่าจะเป็นทำนองนั้นเพราะหากใช้ future แทนคำว่าจะ อนาคตมันช่างริบหลี่จัง
7. กลุ่ม tense อื่น ๆ ถ้ามีก็ไม่ต้องไปจำเพราะมันจะเป็นกลุ่มที่ใช้กรณีรูปไวยกรณ์เชิง grammar เช่น กลุ่ม future in the past
หรือกลุ่มที่ต้องผันเป็นอีกขั้นหนึ่งตามรูปแบบของ direct และ indirect speech (ค่อยไปจำอีกทีหนึ่งละกัน)
ไล่เป็นตารางล่ะกันครับ หากอันไหนมีเสริมจะแทรกทีหลังล่ะกัน โดยเฉพาะตัวอย่างภาษาอังกฤษขอเสริมทีหลังละกันครับ
Past Present Future
Simple 1.ใช้ กับเหตุการณ์ในอดีต 1. เรื่องที่เป็นจริงเสมอไป 1.จะในอนาคต โอกาสแค่ 50%
(feel รู้สึกเป็น จบแล้วสิ้นสุดแล้ว เช่น พระอาทิตย์ขึ้นทิศตะวันออก (ดูเกร็ดเรื่องจะ)
ภาพนิ่ง) ดูจากจุดบอกเวลา 2. เรื่องนิสัย จะมี adv บอกความถี่
2.บรรยายเรื่องในอดีต (ดูเกร็ดเรื่อง adv บอกความถี่เพิ่มเติม)
ภาพขาวดำมีจุดบอกเวลา
เช่นกัน
(จุดบอกเวลาคือ adv of time)
Past Present Future
Continuous 1.ภาพขยับในอดีต มีจุดบอกเวลา 1.ภาพขยับในปัจจุบัน 1.ภาพขยับในอนาคต (โอกาสน้อย 50%)
(feel รู้สึกเป็น 2.จะที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูง 90%
ภาพขยับ) มีจุดบอกเวลา
Past Present Future
Perfect Simple 1.เหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น 1.เหตุการณ์ที่พึ่งสิ้น สุดลงมาด ๆ 1.เหตุการณ์ที่เมื่อถึงอนาคตแล้วเกิดขึ้นแน่ ๆ
(feel รู้สึกเป็น ก่อนอีกเหตุกาณ์หนึ่ง ไม่มีเวลากำกับนิยมใช้เขียน เช่น คอนโดจะเสร็จแน่ ๆ อีก 2 ปี นิยม
เหตุการณ์เฉพาะ ส่วนมากมี 2 ประโยค minute of meeting ใช้กับพวกแนวโครงการที่มีการคาดการณ์
ที่เน้นผล) หากจะมีประโยคเดียวต้องมี (บันทึกการประชุม) อนาคต
พวก by+เวลาตามหลัง 2.เหตุการณ์ที่ดำเนินตั้งแต่อดีต
เช่น เมื่อคืนก่อนที่เรานอนเรา ถึงปัจจุบันและจะดำเนินต่อยังอนาคต
ปิดไฟก่อน เช่น เมื่อมีการถามว่าทำงานอยู่ที่ไหน
ก็ตอบใช้ present perfect ว่าทำอยู่
ที่.... จะสื่ออารมณ์ได้ทำอยู่ที่นี่นะ
แล้วก็จะต้องทำต่อไปอีก
Past Present Future
Perfect Continuous 1.เหมือน Prefect Simple 1.เหมือน Prefect Simple 1.เหมือน Prefect Simple
(feel รู้สึกเป็น แต่เน้น Process การกระทำ แต่เน้น Process การกระทำ แต่เน้น Process การกระทำ
เหตุการณ์เฉพาะ 2.อดีตถึงอดีต ใช้ในการเล่า
ที่เน้นกระบวนการ) เหตุการณ์ในอดีต เช่น
ก่อนที่พ่อผมเสียชีวิตเมื่อ 5 ปีก่อน
ผมได้ดูแลท่านอย่างใกล้ชิด
ประมาณ 2 เดือนก่อนท่านจะเสียชีวิต
(ประโยคแรกใช้ past simple,ประโยคสองใช้
past perfect continuous จะได้อารมณ์มากกว่า)
หมายเหตุ การเน้นผล หรือการเน้นกระบวนการ ดูอย่างไร
ดูดังนี้ครับ เช่น ผมไปซื้อเสื้อได้มา 3 ตัว อันนี้เน้นผลลัพธ์จะใช้พวก perfect simple (ดูง่าย ๆ ส่วนมากจะมีตัวเลข)
ผมไปซื้อเสื้อที่แถวสยาม อันนี้เน้นการกระทำทำนองอยากบอกว่าเดินช๊อปชิ้งนะ ใช้พวก perfect continuous
ปล. กลุ่ม future in the past จะเป็นการสื่อความหมายจะในอดีตในกรณีต้องการเล่าเรื่องบรรยายในอดีต จะมีการผันรูปเปลี่ยนจาก
future เป็น future in the past แทนรูปแบบการใช้งานจะคล้ายคลึงกัน จึงไม่มีการระบุรายละเอียด
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
1. เรื่องจะ ภาษาอังกฤษมี จะ อยู่ 5 แบบ
1) is/am/are + going to + V1 : โอกาสเกิดขึ้น 99% แปลแบบใส่อารมณ์น่าจะแปลว่า จะไปเดี๋ยวนี้แหละหรือไปแน่ ๆ ไม่ต้องห่วง
(ไม่จำเป็นต้องมีจุดบอกเวลา)
2) is/am/are + about to +V1 : โอกาสเกิดขึ้น 99% แปลแบบใส่อารมณ์น่าจะแปลว่า จะไปเดี๋ยวนี้แหละหรือไปแน่ ๆ ไม่ต้องห่วง
(ไม่จำเป็นต้องมีจุดบอกเวลา)
คิดว่าจะใช้ต่างกันกับข้อ 1) น่าจะเกี่ยวกับคำที่นิยมใช้ในรูปแบบไหน และบริบทมากกว่า
เช่น is/am/are + about to call ... ไม่ค่อยเห็นใช้ is/am/are + going to call ...
ซึ่งถ้าจะดูจาก feeling: going to จะได้อารมณ์ action เหมือนกับจะต้องเดินไปทำอะไร มากกว่า about to ที่จะทำอะไร
3) is/am/are + ving (present continuous tense) + จุดบอกเวลา โอกาสเกิด 90% เป็นการเกิดเหตุการณ์ที่คาดหวังไว้ในอนาคต
แบบที่มีแผนการแน่นอนแล้ว ดังนั้นหากมี meeting หรืองานนัดลูกค้าต้องใช้ จะตัวนี้นะครับ
4) is/am/are + to-inf + จุดบอกเวลา มีโอกาสเกิด 90% เช่นกัน ลักษณะคล้ายคลึงกับของข้อ 3) เพียงแต่ในบางครั้ง
จะมี verb บางตัวที่ไม่ควรทำเป็น active term
ปล.ถ้า is/am/are + to-inf ไม่ได้แปลว่า จะ มีอีกความหมายแปลว่า ก็คือ หรือจะต้อง
5) will/shall + V1 (future tense) (มีหรือไม่มีจุดบอกเวลาก็ได้) มีโอกาสเกิด 50%-50% ทำนองไม่มั่นใจ
เป็นจะที่เราใช้ทั่ว ๆ ไป
2. การบอกความถี่
การบอกความถี่มี หลายแบบเช่นการใช้ verb ช่วย เช่น may, might และการใช้ adv. บอกความถี่
ซึ่งจะมีความแตกต่างของความบ่อยดังนี้
100% : always/everyone
95% : almost everyone
90% : probably
80% : usaully/generally
70% : often/frequently
60% : ไม่มี
50% : possibly/may
40% : ไม่มี
30% : sometimes/from time to time/occasionally/might
10%-20% : rarely/scarely/seldom/hardly
0% : Never
สุดท้าย
ทั้งนี้ในการอธิบายผมอธิบายจากที่ได้เรียน reading เสริมกับ grammar รวมถึง writing course ซึ่งจะมีการสอนสื่ออารมณ์
จึงรวบรวมมาใส่รายละเอียดเพิ่มเติมลงไป
ใน grammar จะมี 10 tense ไม่มี past perfect continuous และ future perfect continuous
เพราะอาจารย์สอนเฉพาะที่ใช้งานจริง ๆ ในการพูดและตอนเขียน
ส่วน tense อันอื่นปกติก็ไม่เจออยู่แล้ว หรือถ้าเจอใน reading ก็สามารถเดาบริบทได้เอง และ/หรือสื่ออารมณ์ได้จากภาพอยู่แล้ว
สำหรับ future in the past เป็นแค่ตัวประกอบเชิงรูปไวยกรณ์ grammar ที่อาจารย์สอนแทรกไว้ตอนเรียน reading ของ toefl
รวมถึง tense อื่น ๆ past perfect continuous และ future perfect continuous เมื่อมีการเจอในบทความ
ปล.หากมีส่วนใดพิมพ์ผิดหรือทางผมเข้าใจผิดประการใดช่วยแจ้งด้วยครับจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้
สำหรับตัวอย่างภาษาอังกฤษว่าง ๆ จะนำมาใส่ให้ครับ แต่แนะนำว่าให้ไปอ่านเองในหนังสือที่อาจารย์สอนครับ
จะมีตัวอย่างที่ค่อนข้างละเอียด และคำอธิบายที่ชัดเจนในแต่ละตัวอย่างไป ตอนที่อาจารย์สอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น