ในการทำข้อสอบภาษาอังกฤษไม่ว่าจะเป็นข้อสอบGAT หรือข้อสอบ O-net หรือ A-net ในส่วนที่จะทำคะแนนได้ดีก็เป็นพาธ reading comprehension นะครับ กลยุทธ์ หรือ strategies ขอการทำข้อสอบสำหรับผมนะครับ คือ เราต้องเจาะจุดแข็งของเรา ถ้าผมจะต้องสอบเข้ามหาลัยแล้วต้องทำข้อสอบภาษาอังกฤษ ผมดูแล้วละครับ พาธ reading comprehension ผมจะฝึกซ้อมๆๆและฝึกซ้อมทำข้อสอบreading comprehension ให้เก่งแตกต่างจากผู้แข่งคนอื่นๆๆนะครับ ถ้ามีเวลาเหลือผมถือจะดูพาธอื่นอีกทีครับ
1. การอ่านอย่างคร่าวๆ (Preview Reading)
2.
การเดาความหมายศัพท์ (Guessing
word meaning)
3.
การหาหัวเรื่องและใจความสำคัญ (Finding
the topic and the main idea)
4.
การเข้าใจรายละเอียด (Understanding
the details)
5.
การใช้คำอ้างอิง (Using
reference words)
6.
การอ่านแบบ Scanning
1. การอ่านอย่างคร่าวๆ (Previewing)
หมายถึง การที่ผู้อ่าน ดู หรือสำรวจส่วนต่างๆ ของสิ่งที่อ่านก่อนอ่านจริง (look
before you read) จะช่วยทำให้เข้าใจเรื่องที่อ่านสามารถเข้าใจเรื่อง
ที่อ่านได้ดียิ่งขึ้น
วิธีการ Previewing ข้อความสั้นๆ
1.
อ่านชื่อเรื่อง
2.
ดูรูปภาพประกอบ (ถ้ามี)
3.
อ่าน 2-3
ประโยคแรกของย่อหน้าที่หนึ่ง
4.
อ่านบรรทัดแรกของย่อหน้าถัดๆไป
5.
อ่านประโยคสุดท้ายของย่อหน้าสุดท้าย
6.
สังเกต ชื่อ, วันที่
และจำนวนเลขต่างๆ
Preview ข้อความต่อไปนี้
โดยอ่านเฉพาะข้อความที่ขีดเส้นใต้ และอย่าลืมอ่าน ตามขั้นตอนวิธีการ Previewing
ดังกล่าวข้างต้น
Choose the best answer. Don’t look back at the passage.
1. The camel can go without...............for a long time.
a. food b. water
c. heat d. fat
2. It stores .......................in a hump.
a. heat b. hair
c. water d. food
3. The ..........................camel has one hump.
a.
Arabian b.
Bactrian
c.
desert d.
Central Asian
4. Arabic has about 150 words to describe a camel
because.............................
a.
winter are cold there b.
the camel lives in a hot desert
c. the
camel is very important to them d.
there are many kinds of camels
หลังจากตอบคำถามแล้ว
ให้ย้อนอ่านข้อความทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง
ผู้อ่านจะสามารถเรียนรู้ค่อนข้างมากเกี่ยวกับข้อความ
2. การเดาความหมายศัพท์ (Guessing
word meanings)
การอ่านในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น
ไม่มีใครที่จะรู้ความหมายของคำทุกคำที่อ่านในข้อความได้ มีโอกาสบ่อยครั้งที่ต้องเดาศัพท์หรือคำที่ไม่รู้ความหมายจากเนื้อเรื่องที่แวดล้อมอยู่
หรือบอกได้ว่าคำที่หายไปนั้นเป็นคำชนิดใด
3. การหาหัวเรื่อง และใจความสำคัญ (finding
the topic and main idea)
ในการอ่านควรถามตนเองว่า กำลังอ่านเกี่ยวกับเรื่องอะไร (What am I
reading about?) หรือหัวเรื่องใด (What is the topic?) หัวเรื่องนั้นจะเป็นสิ่งที่ให้ความคิดอย่างกว้างๆในเรื่องนั้นๆ
และทำให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมของเรื่องที่อ่านทั้งหมดว่าเกี่ยวกับเรื่องใด
และในขณะเดียวกัน
เมื่อบอกได้ว่ากำลังอ่านเรื่องอะไรผู้อ่านก็ต้องรู้สาระสำคัญหรือใจความสำคัญ (Main
idea) ของเรื่องนั้นๆด้วย
3.1
หัวเรื่อง (Topic)
A.
Topic of lists (หัวเรื่องของเรื่องของรายการต่างๆ)
หัวเรื่องของรายการต่างๆ
สามารถหาได้โดยพิจารณาจากรายการนั้นๆ ว่า กล่าวโดยรวมถึงเรื่องอะไร หัวเรื่องจะกว้างและครอบคลุมเรื่องย่อยๆทั้งหมด
B. Topics of Conversation (หัวเรื่องของการสนทนา)
หากผู้พูดและผู้ฟังจับประเด็นเรื่องราว
หรือหัวข้อของการสนทนาได้
บุคคลเหล่านั้นย่อมเข้าใจเรื่องราวที่สนทนากันเป็นอย่างดี เช่น
A: When did this happen?
B: Yesterday. I was playing tennis and I fell down.
A: Can you move it at all?
B: Only a little.
A: Can you walk on it?
B: No, it hurts too much.
A: I think you’ll have to take an X-ray.
What is the topic of the conversation? (The patient’s broken leg)
Where are they? (At the hospital / At the Clinic)
What are the words that helped you guess? (happen / fell
down / Can you move it / Can you walk on it)
C. Topics of Paragraphs (หัวเรื่องของข้อความ)
การอ่านข้อความแต่ละย่อหน้า
จำเป็นต้องเข้าใจถึงหัวเรื่องของข้อความ หรือข้อความนั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไร
หัวเรื่องควรมีความหมายครอบคลุมเรื่องราวทั้งหมดของข้อความและ
ไม่ควรจะกว้างหรือแคบจนเกินไป เช่น
Mexico City is a popular place for tourists. Every year
thousands of people go to Mexico City. They visit the old and beautiful
buildings in this city. In the museums they learn about the history of Mexico.
And in the restaurants they enjoy the spicy and delicious Mexican food.
หัวเรื่อง (Topic) เกี่ยวกับ Mexico City ซึ่งจะครอบคลุมข้อความทั้งหมด ถ้าเป็น Mexican food จะแคบเกินไป
เพราะกล่าวไว้ประโยคสุดท้ายเท่านั้น ถ้าเป็น Mexico ก็กว้างเกินไป
3.2 ใจความสำคัญ (Main Idea)
เป็นการสรุปความคิดหลักที่ผู้เขียนต้องการบอกแก่ผู้อ่าน
และให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวเรื่องนั้นๆ ระวังอย่าสรุปให้กว้างหรือแคบเกินไป
ใจความที่ดีนั้นควรครอบคลุมหรือกล่าวถึงองค์ประกอบทุกส่วนของข้อความ ตัวอย่าง เช่น
Cats and dogs are both popular pets. But cats are nicer pets
in some ways. First cats are cleaner. They stay very clean and they do not make
the house dirty. Cats are also quieter than dogs. They usually do not make a
lot of noise. Cats are safer, too. Dogs sometimes bite people, but cats almost
never do. And finally, cats are easier to take care of . You do not have to
spend much time with a cat. In fact, many cats prefer to be alone.
Topic: Cats and Dogs
Main idea: Cats are nicer than dogs in some ways.
Topic:
Cats and Dogs เพราะพูดถึงสัตว์สองชนิด และ
ผู้เขียนได้บอกถึงแง่มุมที่ว่า Cats are nicer than dogs in some ways.
Topic
sentence โดยปกติมักจะอยู่ตอนต้นของข้อความ เช่นเรื่อง Cats and Dogs และ Topic
sentence ได้แก่ but cats are nicer pets in some ways. เป็นต้น แต่ก็มีปรากฏเช่นเดียวกันว่า Topic sentence อยู่ตอนกลางหรือตอนท้ายของเรื่อง ดังนั้นควรฝึกหา
Topic sentence ด้วย
เพราะผู้เขียนมุ่งหวังให้ผู้อ่านสรุปสาระสำคัญเอง
4. การเข้าใจรายละเอียด (Understanding
the details)
การเข้าใจความหมายของแต่ละข้อความนั้นนอกจากจะต้องรู้เกี่ยวกับใจความสำคัญแล้ว
ผู้อ่านต้องสามารถเขียนรายละเอียดต่างๆ (details) กับใจความสำคัญของเรื่องได้ด้วย
จุดประสงค์ในการให้รายละเอียดของข้อความมีอยู่
3 ประการ คือ
1.
ทำให้ใจความสำคัญถูกต้องและแน่ชัดยิ่งขึ้น
2.
ช่วยบรรยายหรือขยายความคิดหลักให้กว้างออกไป
3.
ให้ความกระจ่างหรืออธิบายใจความสำคัญอย่างชัดเจน
การเชื่อมโยงรายละเอียดของข้อความกับใจความสำคัญ
มีวิธีการดังนี้
1.
อ่านประโยคแรกของย่อหน้าซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นTopic sentenceที่บรรจุใจความสำคัญของเรื่องไว้
2.
ตั้งคำถามเกี่ยวกับใจความสำคัญของเรื่อง โดยเริ่มต้นคำถามด้วย what,
who, when, why หรือ how
3. อ่านประโยคที่เหลือในย่อหน้า และหารายละเอียดต่างๆ ที่ตอบคำถามใน ข้อ 2
4. อ่านข้อความทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง ทบทวนเกี่ยวกับใจความสำคัญและ
รายละเอียดที่สนับสนุน
4. การใช้คำอ้างอิง (Using reference
words)
โดยปกติในข้อความต่างๆมักไม่นิยมใช้คำเดียวซ้ำหลายครั้ง แต่จะใช้คำอื่นๆ
ซึ่งมีความหมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
Pronouns
(สรรพนาม)
เป็นคำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึง ซึ่งมีความสำคัญต่อการอ่าน
โดยจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจมากยิ่งขึ้นเช่น I, we, he, she, it, they, them, him, her,
this, that, these, those
6. การอ่านแบบ Scanning
Scanning
เป็นเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาการอ่านเร็วเพื่อหาคำตอบให้กับคำถามที่ต้องการรู้เท่านั้น
เราใช้ทักษะนี้ในการหาหมายเลขโทรศัพท์
ด้วยการมองที่อักษรแรกของชื่อแล้วกวาดสายตาไปตามรายชื่อนั้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งพบหมายเลขที่ต้องการ
นอกจากนี้ยังใช้ในการหา ดรรชนีของหนังสือ, รายชื่อภาพยนตร์และรายการโฆษณาหรือข่าวจากหนังสือพิมพ์
รวมทั้งการหาคำ สถานที่ หรือ ชื่อ (จากพจนานุกรม, แผนที่
และรายการ) เวลาหรือวันที่ (จากตารางกำหนดเวลา และปฏิทิน) หรือสถิติ(จากตาราง,
แผนภาพ และแผนภูมิ)
Scanning
ไม่ใช่ทักษะการอ่านเพื่อหาใจความสำคัญของเรื่อง
แต่เป็นวิธีการหารายละเอียด (Details) ของข้อความโดยมุ่งที่จะตอบคำถามที่ต้องการรู้เท่านั้น ดังนั้น หากผู้อ่านได้ฝึกทักษะ Scanning จนเกิดความชำนาญจะมีประโยชน์อย่างมากในการทำข้อสอบรวมทั้งการอ่านข้อความที่พบในชีวิตประจำวันต่างๆ
หรือแม้แต่การอ่านคำถามของข้อความก่อนแล้วหาคำตอบในเนื้อเรื่องที่ยาวขึ้น
ก็จะทำให้จับใจความหรือหาคำตอบได้อย่างรวดเร็ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น