12.8.55

อยากเก่งภาษาอังกฤษต้องคิดอย่างไร

 ผมเคยสงสัยนะครับหลังจากที่ผมเจอหนัง "คิดแล้วรวย" ในหนังสือจะสอนวิธีการคิดแล้วรวย แล้วถ้าอยากเก่งภาษาอังกฤษละครับ ต้องคิดอย่างไร งงไหมครับ ผมว่าน่าจะมีหน้าหนังสือ คิดแล้วเก่งภาษาอังกฤษมาขายบ้างนะครับ หรือไม่ก็คิดแล้วทำข้อสอบภาษาอังกฤษได้เต็มอะไรประมาณนี้ครับ

 ผมบทความที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้เป็นบทความชื่อว่า อยากเก่งภาษาอังกฤษ ต้องคิดนอกกรอบ เขียนโดย ผศ. บุญเลิศ วงศ์พรม และเคยตีพิมพ์ที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 31 สิงหาคม 2553 หน้า 11ครับ

“หากสักวันหนึ่งมีเทวดามาจุติต่อหน้า แล้วบอกว่าให้ผมเลือกเก่งได้อย่างเดียว จะเลือก
อะไร? ผมตอบโดยไม่ต้องคิดว่า ผมขอเลือกภาษาอังกฤษ เพราะถือเป็นภาษาสากล อาชีพของ
ผมเฟื่องฟูและหารายได้จนถึงปัจจุบันนี้ก็เพราะเก่งภาษาอังกฤษ ความสำเร็จในด้านกฎหมายใช้
วิชาความรู้ทางนิติศาสตร์เพียง 25% ส่วนอีก 75% มาจากอีกสามส่วน ได้แก่ Team Work,
ภาษาอังกฤษ และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ปัญหา” ถ้อยความคิด คำยืนยันจาก ดร. สุวรรณ
วลัยเสถียร ทนายความผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายและบัญชีภาษีอันดับต้นๆของเมืองไทย
ภาษาในโลกนี้มีมากกว่า 6,000 ภาษา มี 45 ประเทศใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และ
ใช้เป็นภาษากลาง (Lingua Franca) ในการติดต่อสื่อสารทั่วโลก Marshall McLuhan จึงฟันธงว่า
ภาษาอังกฤษคือภาษาของโลก แม้นมันจะไม่ได้เป็นภาษาที่มีคนใช้มากที่สุดดังภาษาจีน หรือฮินดี ก็
ตาม แต่มันมีความสำคัญในการใช้เพื่อเจรจาทางการธุรกิจ การทหาร และ การต่างประเทศทั่วโลก
นับวันประเทศเราได้หลุดเข้าไปสู่วงโคจรภาษา อันมีนัยแห่งความเป็นสากลเรื่อยๆ เป็นเหตุให้เรา
ต้องปรับปรุงการใช้ภาษาอังกฤษกันขนานใหญ่ มันมีพลังเพียงพอที่จะทำให้คนที่ไม่สนใจ ยากที่จะ
อาศัยอยู่ในสังคมโลกยุคไล่ล่าหาคนเก่งอย่างปัจจุบัน ที่สำคัญจากการสำรวจของ Business Week
Statistics ระบุว่า การเก่งภาษาอังกฤษช่วยเพิ่มเงินเดือนให้คุณได้ถึง 35% ดังนั้น ภาษาอังกฤษจึง
เปรียบประหนึ่งเป็นวีซ่าแห่งโอกาสให้กับเรา
ในการศึกษาภาษาอังกฤษก็ต้องคิดนอกกรอบ ไม่มีสูตรสำเร็จรูปตายตัวสูตรใดสูตรหนึ่งที่
จะทำให้เราประสบผลสำเร็จในการศึกษาภาษาอังกฤษได้ เพราะภาษาอังกฤษยังไม่ตาย ยังมีการ
เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพพื้นที่ สังคม ผู้คนในแต่ละประเทศอยู่ รูปภาษาจะเปลี่ยนแปลงไปตาม
ความเหมาะสมของแต่ละประเทศ
การคิดนอกกรอบนั้น พวกอเมริกันคือโมเดลที่ดี พวกเขาถูกฝึกมาแบบที่พ่อแม่ให้อิสระใน
การคิด สถานศึกษาก็ให้อิสระในการปฏิบัติ จึงไม่ค่อยจะติดกรอบอะไรกับใครนัก เราจึงเห็นพวก
นี้คิดอะไรแผลงๆ แตกต่างจากคนอื่นได้ แล้วเขาก็ยอมรับว่าคนอื่นมีความคิดแตกต่างกัน ไม่เรียกว่า
“ขัดแย้ง” ในส่วนคนจีนเขามีอิสรภาพในการคิด เป็นจำพวก “ฉันจะเอาให้ได้” คนจีนจึงทำ
อะไร คิดอะไรไม่มีกรอบ เอาแต่ผลลัพธ์มากกว่า คนญี่ปุ่นกลับมีกรอบมาก หยุมหยิม สังคมเขา
เข้มงวด ไม่ค่อยมีใครแย้งกับกรอบหรือกฎมากนัก ทุกคนพยายามปฏิบัติตามโดยไม่คัดค้านอะไร
แตกต่างจากเราตรงที่เขาพยายามทำให้ดีกว่าภายใต้กฎเกณฑ์ แต่สิ่งที่คนญี่ปุ่นกับคนไทยมี
เหมือนกันคือหากไม่มีกรอบแล้ว จะทำอะไรไม่ถูก จึงสังเกตได้ว่าญี่ปุ่นจะเป็นนักเลียนแบบที่
มักจะทำอะไรได้ดีกว่าต้นแบบ เป็นพวก “คิดในกรอบให้ดีกว่า”
มิใช่เป็นเพราะคิดนอกกรอบหรือคิดกบฏทางกฎเกณฑ์ทางภาษาหรอกหรือ? จึงเกิดมี
ภาษาอังกฤษในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบอเมริกัน ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย
ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ประเทศเหล่านี้ล้วนแต่มีการใช้ภาษาอังกฤษที่แตกต่างจากภาษาอังกฤษต้นแบบ
(British English) ไม่ว่าจะเป็นการสะกด และ การออกเสียง จากนี้ไป เราจะไปคอนเฟิร์มไม่ได้อีก
แล้วว่า ภาษาแบบไหนดี อันไหนไม่ถูก เพราะภาษาอังกฤษก็จะปรับตัวไปตามกาลสมัยและเหตุ
ปัจจัยของประเทศนั้นๆ (Language Changes)
ดังนั้น เวลาพูดไม่ควรไปยึดติดอยู่กับรูปแบบเก่าๆ ไม่ต้องไปกังวลกับความถูก/ผิด มาก
นัก แม้นความถูก-ผิดจะถือเป็นบรรทัดฐานในการใช้ภาษา แต่ความถูกผิดนี้มันครอบงำเราให้
หวาดกลัว ขาดความมั่นใจ จนเป็นเหตุให้ไม่กล้าพูด หากไม่เอ่ยปากพูดย่อมเป็นไปไม่ได้ที่เราจะ
พบกับความเก่ง ความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาได้ เพราะการใช้ภาษามันเกิดมาจากการลองผิดลอง
ถูกครั้งแล้วครั้งเล่า แต่หากเราหลุดออกจากกรอบ แล้วคิดใหม่ ฝึกเสียใหม่ ปรับทัศนคติเสียใหม่
เราก็จะพบว่าภาษาอังกฤษมันมีความเป็นไปได้รอคอยอยู่
จริงอยู่! ในระหว่างการฝึกหัดนั้น เราอาจประสบกับปัญหานานาประการ อุปสรรค
สำคัญที่เห็นโดดเด่น ได้แก่
1. ถูกแทรกแซงจากภาษาแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกเสียง โครงสร้าง และสำนวน
ภาษา เพราะธรรมชาติของนักศึกษาไทยเวลาจะพูดหรือเขียนมักจะคิดเป็นภาษาไทยก่อน แล้ว
ค่อยแปลเป็นภาษาอังกฤษอีกทอดหนึ่ง ถือเป็นการทำงานซ้ำซ้อน เพราะเราถูกปลูกฝังให้ทำงานใน
ระบบดังกล่าวมาแต่ต้น
2. เนื้อหาที่นำเสนอไม่สอดคล้องกับยุคสมัย บทเรียนไม่เข้ากับบริบทสังคม การนำเสนอ
บทเรียนของครูอาจารย์ขาดความเร้าใจ ไม่น่าติดตาม ห้องเรียนเป็นลักษณะที่ครูคือผู้ครอบครองวิชา
ความรู้ และนักเรียนเป็นผู้รับ การนำเสนอบทเรียนของผู้สอนควรจะเปลี่ยนเป็นห้องเรียนแห่งความ
สนุกสนาน
3. ไม่กล้าพอ ไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษทั้งต่อหน้าครูบาอาจารย์ หรือแม้แต่กับเหล่าเพื่อน
นักศึกษาด้วยกัน เพราะกลัวผิด ขาดความมั่นใจทั้งในสำนวนและสำเนียงของตน ปฐมเหตุแห่ง
ปัญหานี้อาจเป็นเพราะวัฒนธรรมการศึกษาในประเทศไทยเราเน้นไปที่ความถูก-ผิดของตัวภาษา
(Accuracy) มากกว่าเนื้อหา (Content) หรือ ความคล่องในการใช้ภาษา (Fluency) เราถูกปลูกฝังให้
เป็นผู้ตามมาโดยตลอด คนที่ทำตามกรอบคือคนดี ส่วนคนที่คิดนอกกรอบคือพวกสังคมไม่ให้การ
ยอมรับ อันนั้นก็ผิด อันนี้ก็ไม่ได้ อันโน้นก็ไม่เหมาะสม เด็กจึงขาดความมั่นใจในการแสดงออก
4. ขาดความรับผิดชอบ หากคุณอยากเก่ง คุณต้องลงมือทำเอง ครูเองไม่มีมนต์ขลัง ไม่มี
พลังวิเศษที่จะเสกให้เก่งขึ้นมาได้ ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก เป้าหมายของแต่ละคนมีอยู่แล้ว
เส้นทางไปสู่เป้าหมายก็มีหลายเส้นคนชี้แนะแนวทางก็มีเพียงแต่ว่าใครจะเริ่มออกเดินไปสู่เป้าหมาย
ดังกล่าวหรือไม่ ครูบางคนหากลูกศิษย์ไม่ยอมเดินก็อาจมีการเตะก้นให้เริ่มเดินบ้าง แต่หากเตะก้น
แล้วยังไม่ยอมเดินอีก ก็สุดวิสัยที่จะสอน แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาฯผู้ล้ำเลิศ ก็มิอาจช่วยให้สาวก
ที่นั่งฟังพระธรรมเทศนากว่าห้าร้อยคนให้บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ทุกคน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบุญ
บารมีของแต่ละคน จะป่วยกล่าวไปใยแค่ครูธรรมดาคนหนึ่ง ทำใจเสีย!
5.ความไม่เอื้ออำนวยของสภาพแวดล้อม ขาดโอกาสที่จะได้ใช้ในชีวิตประจำวัน
ภาษาอังกฤษกลายเป็นเพียงวิชาที่เรียนเพื่อใช้สอบเท่านั้น มิใช่เรียนรู้เพื่อที่จะนำมาใช้ เมื่อไม่ได้ใช้
ศัพท์ สำนวน และรูปประโยคต่างๆ ที่เรียนมาก็เป็นอันลืมเลือน ขาดความคล่องในการพูด-เขียน
ความเก่ง ความถนัดในทักษะต่าง ๆ ก็เป็นอันตรธานหายไป
หากเราอยากเก่งก็น่าจะมองข้ามสิ่งกีดขวางเหล่านี้ไปให้ได้ ควรหาโอกาส ฝึกฝนอยู่เนืองๆ
หาเพื่อนชาวต่างชาติเพื่อพูดคุย ปัจจุบันนี้โอกาสเปิดกว้าง สื่อต่างๆพยายามส่งเสริมให้คนไทยได้
สัมผัสกับบรรยากาศที่เป็นภาษาอังกฤษมากกว่าเก่าก่อน เราควรหาโอกาสเข้าไปใช้บริการสื่อ
เหล่านั้นอยู่เสมอ ความรู้ส่วนอื่นเราสามารถเรียนรู้จากสื่อเสริมต่างๆได้ แต่เราจะต้องเตรียม
เครื่องมือในการเสาะแสวงหาความรู้ไว้ให้พร้อม นั่นคือภาษาอังกฤษต้องดี
อย่าให้คนทั้งโลกดูถูกเราว่าเป็นผู้อ่อนซ้อมในการใช้ภาษาอังกฤษ ดังที่ปรากฏเป็นข่าว
สะเทือนใจคนไทย สะท้อนให้เห็นถึงระบบการจัดการศึกษาของไทยล้มเหลว เด็ก ป.3 แล้วยังอ่าน
หนังสือไม่ออก การศึกษาภาษาอังกฤษเราตามหลังประเทศเพื่อนบ้านเราแทบจะทุกประเทศ ล่าสุด
จากการสำรวจที่นำเสนอโดยท่านอาจารย์ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยว่า
ศักยภาพในการใช้ภาษาอังกฤษของไทยอยู่ในอันดับรั้งท้ายคืออันดับที่51

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Blog Archive

ป้ายกำกับ

การทําข้อสอบreading (1) เก่งภาษาอังกฤษในเวลาสั้นๆ (1) เกมภาษาอังกฤษสำหรับอนุบาล (1) ข้อสอบพวก TOEFL (2) ข้อสอบภาษาอังกฤษ (1) ครูพี่แนน (2) คล้องจอง (1) เคล็ดลับการทำข้อสอบreading (2) จำคำศัพท์ (17) เดาศัพท์ภาษาอังกฤษ (9) ติวภาษาอังกฤษตัวต่อตัว (14) ติวศัพท์ (20) ท่องศัพท์ (14) เทคนิคการสอนคำศัพท์ (6) เทคนิคใช้that (1) แนะนำหนังสือภาษาอังกฤษ (6) บทสนทนา (2) บทสนาทนาภาษาอังกฤษ (4) ฟังภาษาอังกฤษ (3) ภาษาอังกฤษ (21) ภาษาอังกฤษกับกฎหมาย (1) ภาษาอังกฤษทางบัญชี (1) รวบรวม25กฎของอาจารย์บุญชัย (1) เร่งสปีด (1) เรียนภาษาอังกฤษ (28) เรียนภาษาอังกฤษราคาถูก (8) สอนศัพท์ (11) หลักการใช้ that (1) อาจารย์สมศรี (1) อ่านภาษาอังกฤษ (1) AX 22 (1) cd เรียนภาษาอังกฤษ (1) CDเรียนภาษาอังกฤษ (1) closing sections (1) Cloze Test (1) conversation (1) dictionary (1) fast-english (1) General knowledge (1) GMAT (1) inferior (1) Language in Daily Life (1) main idea (2) parts of speech (1) prefix and suffix (1) reading comprehension (2) reading skill (2) TOEFL (1) TOPIC NOUN (1) vocabulary (2) vocabulary game (2) word formation (2)
 
Copyright © 2011 เรียนภาษาอังกฤษ | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio
Top Stories