วิธีที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายในการอ่านภาษาอังกฤษกรณีเจอคำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมายคือการเปิดดิกครับ ฮ่า แน่นอนหากเรามีเวลาและไม่ได้อยู่ในช่วงที่ทำข้อสอบภาษาอังกฤษเราคงทำแบบนั้นได้ แต่หากทำข้อสอบอยู่ละจะเปิดดิกได้อย่างไร วิธีที่ผมจะนำเสนอคือการเดาศัพท์จากบริบทครับซึ่งผมจะนำทฤษฎีความเห็นของผู้เชี่ยวชาญมานำเสนอให้ท่านๆได้อ่านและนำไปประยุกต์ใช้นะครับ
มุกดา พิภพลาภอนันต์ (มุกดา พิภพลาภอนันต์ 2521: บทคัดย่อ, 7-8) ได้ศึกษาเปรียบเทียบการสอนความหมายของคำด้วยวิธี Context Clue และวิธีแปล พร้อมทั้งศึกษาว่าวิธีการสอนความหมายของคำด้วยวิธี Context Clue เมื่อใช้ในการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศจะได้ผลหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้น ม.ศ 5 โรงเรียนศรัทธาสมุทร จังหวัดสมุทรปราการ พบว่ากลุ่มทดลองที่สอนด้วยวิธี Context Clue มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่สอนด้วยวิธีแปล แสดงว่าการสอนความหมายของคำด้วยวิธี Context Clue สามารถนำมาสอนนักเรียนไทยที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศได้ คล้ายกับงานของ กัยสิทธิ์ เปลรินทร์และงามทิพย์ วิมลเกษม ซึ่งได้เปรียบเทียบการฝึกเดาความหมายของคำศัพท์กับวิธีการอื่นๆ
กัยสิทธิ์ เปลรินทร์ (กัยสิทธิ์ เปลรินทร์ 2524: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้รับการฝึกหาความ หมายของคำศัพท์จากบริบท และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษกับความเข้าใจการอ่าน ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โปรแกรมวิทยาศาสตร์ โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จำนวน 3 ห้องเรียน โดยกลุ่มควบคุมสอนแบบแปล กลุ่มทดลองที่ 1 สอนด้วยวิธีการโครซ และกลุ่มทดลองที่ 2 สอนการหาความหมายของคำศัพท์จากบริบท ผลการวิจัยสรุปว่าการฝึกให้นักเรียนหาความหมายของคำศัพท์จากบริบท ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการอ่านสูงกว่าการฝึกด้วยวิธีโครซ หรือการสอนแบบแปล ส่วนการรู้ศัพท์และการอ่านมีความสัมพันธ์ปานกลาง
งามทิพย์ วิมลเกษม (Wimolkasem 1992: Abstract)ได้ทดลองเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ผลทางการสอนศัพท์ภาษาอังกฤษที่ช่วยใน การอ่านของนักศึกษา 2 วิธีคือ สอนโดยการให้ความหมายของศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ และสอนโดยให้รู้จักเดาความหมายจากบริบท กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 60 คน สรุปว่า
1) วิธีการสอนคำศัพท์ทั้ง 2 วิธี ช่วยสัมฤทธิ์ผลทักษะทางด้านคำศัพท์
2) วิธีการสอนโดยให้รู้จักเดาความหมายจากบริบทเป็นวิธีการที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทาง ด้านคำศัพท์มากกว่าการสอนโดยการให้ความหมายของศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ
3) วิธีการสอนโดยให้รู้จักเดาความหมายจากบริบทเป็นวิธีการที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทาง ด้านการอ่านของผู้เรียน
4) ทักษะด้านคำศัพท์มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่าน
จากงานของกมลวัทน์ ครุฑแก้ว (กมลวัทน์ ครุฑแก้ว 2523: บทคัดย่อ, 10) ซึ่งศึกษาการเดาคำศัพท์จากบริบท (งานปริญญานิพนธ์ฉบับนี้ใช้คำว่า “ปริบท”) เพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านเร็ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จำนวน 42 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม บริบทที่ใช้มี 6 ประเภทคือ
1) บริบทที่เกิดจากคำจำกัดความหรือคำอธิบาย (Direct Definition or Explanation) 2) บริบทที่เกิดจากการกล่าวซ้ำ (Restatement)
3) บริบทที่เกิดจากการเปรียบเทียบ (Comparison or Contrast)
4) บริบทที่เกิดจากการกล่าวสรุป (Summary Restatement)
5) บริบทที่เกิดจากใจความของเรื่อง (Subjective Clues)
6) บริบทที่เกิดจากคำหรือข้อความที่ผู้อ่านรู้ความหมายแล้ว (Familiar Expression) พบว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกเดาคำศัพท์จากบริบท มีความสามารถในการอ่านเร็วมากกว่ากลุ่มควบคุม
ความสามารถในการอ่านและการหาความหมายของคำศัพท์จากบริบทนั้น พบว่ามีความสัมพันธ์กัน โดยกอบลาภ ตันสกุล (กอบลาภ ตันสกุล 2526: บทคัดย่อ, 6) ได้ศึกษาความสามารถในการอ่านและการหาความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากบริบท ของนิสิตชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน กลุ่มตัวอย่างมาจากทุกคณะ จำนวน 400 คน บริบทที่ศึกษามีดังนี้
1) ร่องรอยที่ได้จากการอธิบายโดยตรง (direct explanation clue)
2) ร่องรอยที่ได้จากประสบการณ์ (experience clue)
3) ร่องรอยที่ได้จากการแสดงอารมณ์ (mood or tone clue)
4) ร่องรอยที่ได้จากการอธิบายโดยอาศัยตัวอย่าง (explanation through examples) 5) ร่องรอยที่ได้จากความย่อ (summary clue)
6) ร่องรอยที่ได้จากความเหมือนหรือการกล่าวซ้ำ (synonym or restatement clue) 7) ร่องรอยที่ได้จากการเปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่าง (comparison or contrast clue)
8) ร่องรอยที่ได้จากภาษาที่ใช้จนเคยชินหรือประสบการณ์ทางภาษา (familiar expression or language experience clue)
9) ร่องรอยที่ได้จากคำที่เรียงเป็นชุด (word-in-a series clue)
10) ร่องรอยที่ได้จากการอนุมาน (inference clue) สรุปว่า
1) การอ่านของนิสิตแต่ละคณะมีความแตกต่างกัน
2) คะแนนที่ได้จากการทดสอบความสามารถในการหาความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยอาศัย ร่องรอยจากบริบทของนิสิตแต่ละคณะ มีความแตกต่างกัน
3) คะแนนที่ได้จากการทดสอบความสามารถในการหาความหมายของศัพท์ภาษาอังกฤษโดย อาศัยร่องรอยจากบริบทของนิสิตแต่ละคณะมีความแตกต่างกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น