12.8.55

ภาษาอังกฤษ

 บทควาที่สองที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษบทความความนี้เป็นอีกแง่มุมหนึ่งของคุณชัชวิทย์ อาภรณ์เทวัญ ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผมอ่านแล้วคิดว่าเป็นแง่มุมที่ดีมากๆๆ ขอนำมาบันทึกไว้เผื่อวันหลังได้เอาให้หลานๆผมอ่านบ้างครับ


"สมัยผมเป็นเด็กๆ ก็เริ่มจะได้ยินผู้ใหญ่พร่ำสอนเรื่องให้ขยันเรียนภาษาอังกฤษ เพราะว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ และได้เห็น
ความสำคัญของภาษาอังกฤษมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเรียนปริญญาโท ปริญญาเอก และไปทำ Postdoc ที่อเมริกา สมัยผม
เรียนจุฬาฯ นั้นก็มีภาษาอังกฤษให้เรียน 2 ตัว คือ FE I และ FE II ตอนปีหนึ่ง แค่นั้น ใครจะเรียนเพิ่มก็ต้องขวนขวาย
เอาเอง อาจจะลงเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเป็นวิชาเลือก หรือไปเรียนตามสถาบันกวดวิชาข้างนอกสำหรับคนที่อยากได้
คะแนน TOEFL สูงๆ เพื่อไปเรียนต่อ ในสมัยนั้นภาษาอังกฤษดูเหมือนจะมีความจำเป็นเฉพาะกับคนที่อยากไปเรียน
ต่อต่างประเทศเท่านั้น
เมื่อผมเป็นอาจารย์ก็เห็นว่าโลกเปลี่ยนไปมาก มีอินเทอร์เน็ต มี Google มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรอินเตอร์เปิดขึ้นมาก
ผมมีลูกศิษย์เป็นชาวต่างชาติ ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขาย ทำธุรกิจกับต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนต้อง
ใช้ภาษาอังกฤษในระดับที่ดีหรือดีมาก ผมมีลูกศิษย์สองคน คนแรกไปสมัครงาน ปตท. ต้องการคะแนน TOEIC ≥ 750
แต่ทำได้แค่ 700 กว่าๆ ก็ไม่ได้งานทำ คนที่สองสมัครเรียน Computer Science (PhD) ที่ Cambridge คุณสมบัติทุก
อย่างผ่านหมดแล้ว ยกเว้นภาษาอังกฤษ Cambridge ขอ TOEFL ≥ 100 (เต็ม 120 คะแนน, internet-based test) หรือ
IELTS ≥ 7 (เต็ม 9 คะแนน) ปจั จุบันเธอทำ TOEFL ได้แค่ 93 คะแนน ก็ยังต้องลุ้นต่อไป เห็นแล้วก็น่าสงสารนักเรียน
ว่าเราไม่ได้เตรียมความพร้อมเรื่องภาษาอังกฤษให้ไปแข่งขันในตลาดแรงงานหรือการสมัครเรียนต่อเลย
ปจั จุบันจุฬาฯ ก็เริ่มที่จะตระหนักถึงเรื่องนี้ เหตุผลหนึ่งก็มาจากการที่จะเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 ทำให้เริ่มมีการขยับ
ตัวกันบ้าง เช่น จะให้อาจารย์สอนบางวิชาเป็นภาษาอังกฤษ (ในหลักสูตรภาษาไทย) รับนักเรียนต่างชาติเพิ่มขึ้นหรือก็
ต้องเปิดหลักสูตรอินเตอร์เพื่อรับนักเรียนต่างชาติ เปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษ (ไม่ต้องมีต่างชาติเรียนก็ได้ แต่สอนคน
ไทยเป็นภาษาอังกฤษ) รับสมัครอาจารย์ต่างชาติเพิ่มขึ้น ฯลฯ ผมเองก็มีความยินดีที่มหาวิทยาลัยมีความกระตือรือร้น
ในเรื่องนี้ แต่ที่ผมกังวลคือ
1. เรื่องที่จะให้อาจารย์สอนบางวิชาหรือทุกวิชา (ในหลักสูตรภาษาไทย) เป็นภาษาอังกฤษ อันนี้ขัดกับหลัก
ตรรกะมากๆ เพราะปกติมหาวิทยาลัยที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ จะบังคับคะแนน TOEFL ตั้งแต่ตอนสมัคร
เรียนแล้ว คือภาษาอังกฤษต้องดีตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน เพราะว่าถ้าภาษาอังกฤษไม่ดี จะเรียนรู้เรื่องได้อย่างไร
ฟงั เลคเชอร์ก็ไม่รู้เรื่อง ถามตอบสื่อสารกับอาจารย์และเพื่อนๆ ไม่ได้ อ่านหนังสือหรือบทความที่อาจารย์ให้ไป
ไม่ได้ เขียนรายงานมาส่งไม่ได้ แต่นี่จะให้สอนวิชาการ เช่น คณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เป็นภาษาอังกฤษ ให้กับ
เด็กที่อ่อนภาษาอังกฤษ โดยหวังว่าเด็กจะได้ฝึกภาษาอังกฤษไปด้วย กว่าเด็กมันจะเก่งภาษาอังกฤษ มันก็คง
สอบตกวิชาอื่นหมดก่อน อีกแนวทางหนึ่งก็คือจะสอนปีแรกๆ เป็นภาษาไทยแล้วปีหลังๆ จะมีวิชาที่สอนเป็น
ภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น อันนี้ผมว่าก็ยังมีจุดอ่อนอยู่ตรงที่เด็กที่ไม่พัฒนาภาษาอังกฤษในปีแรกๆ พอได้
เลื่อนชัน้ ขึ้นไปก็จะมีปญั หาอยู่ดี ถ้าใช้ระบบนี้ก็ต้องมีการวัดความรู้ภาษาอังกฤษก่อนให้เลื่อนชัน้ ขึ้นไปเรียนใน
ปีถัดไป ถ้าแบบนี้ผมเห็นด้วยนะ เพราะถ้าจะบังคับคะแนน TOEFL ตั้งแต่สอบเข้ามหาวิทยาลัยมันเป็นภาระ
มากเกินไป ควรจะให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้ามาเรียน แล้วใช้ทรัพยากรในมหาวิทยาลัยเพื่อปรับปรุง
ภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น (เรื่องขำขำสมัยผมเป็นนิสิตวิศวะคือ เราทำข้อสอบวิชา mechanics หรือ drawing กัน
ไม่ได้ เพราะโจทย์เป็นภาษาอังกฤษ พอแปลโจทย์ผิดก็ทำผิดไปด้วย)
2. การเปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษ ถ้าเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษก็ต้องเริ่มการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
ตั้งแต่วันแรกเลย ดังนั้นผมฟนั ธงเลยว่าถ้าจุฬาฯ จะเปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษก็ควรจะบังคับคะแนน TOEFL
หรือเทียบเท่าที่ ≥ 80% สำหรับนักเรียน และอาจารย์ที่สอนควรจะได้ TOEFL ≥ 85 - 90% ถ้าทำไม่ได้ก็อย่า
เปิดเลยครับ เปิดไปก็ไม่มีคุณภาพอะไร ถ้าไม่บังคับคะแนนภาษาอังกฤษก่อนเข้าเรียน มันเรียนกันไม่รู้เรื่อง
หรอกครับ แล้วก็ต้องปล่อยๆ เกรด ที่อ้างว่าจะช่วยนักเรียนให้เก่งภาษาอังกฤษนั้น ผมว่าจะทำลายเด็ก
มากกว่า เพราะวิชาการก็เสีย แถมภาษาอังกฤษก็จะไม่ได้ด้วย เพราะไม่มี “ตัววัด” อะไรเลย ถ้าอยากรู้ว่าเด็ก
เก่งภาษาอังกฤษหรือไม่ ก็ต้องวัดด้วยข้อสอบมาตรฐาน เช่น TOEFL / TOEIC / IELTS ไม่ใช่เรียนอินเตอร์
หรือหลักสูตรภาษาอังกฤษแล้วจะรับรองว่าเด็กเก่งภาษาอังกฤษ พอไปเรียนต่อระดับโทเอก หรือสมัครงาน
เค้าก็จะถามหาคะแนนพวกนี้อยู่ดี
แต่การเปิดหลักสูตรอินเตอร์หรือหลักสูตรภาษาอังกฤษเพราะมีชาวต่างชาติมาเรียนเยอะ อันนี้ผมเห็นด้วยนะ
ครับ แต่อย่าอ้างว่าเปิดแล้วจะช่วยพัฒนาภาษาอังกฤษให้นักเรียน (มันต้องเก่งภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนมา
เรียนแล้ว ถึงจะเรียนรู้เรื่อง)
ถ้าเอาประโยชน์ของนักเรียนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนไทยเป็นที่ตัง้ (ของนักเรียนต่างชาติช่างหัวมัน) ผมเสนอว่า
 มหาวิทยาลัยควรจะจัดศูนย์สำหรับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง จุฬาฯ มีสถาบันภาษาอยู่แล้ว
 บังคับให้นิสิตไปเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น อย่างน้อย 100 ชม. เป็นต้น
 พัฒนา e-Learning สำหรับเรียนภาษาอังกฤษ เรื่องนี้สิน่าจะทำ e-Learning มากที่สุดแล้ว เพราะภาษาเป็น
เรื่องที่เรียนด้วยตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้องเรียนในห้อง ทำให้ดีๆ ชุดเดียวสุดจะคุ้ม เพราะใช้ทัง้ จุฬาฯ ทุกชัน้ ปี
ถ้าทำไม่ไหวก็ซื้อเอาก็ได้ มีขายเยอะแยะไป ถือว่าลงทุนให้นักเรียน
 มีการสอบวัดผลที่เป็นมาตรฐานครบทัง้ 4 ส่วนคือ reading / writing / listening / speaking ก็ต้องใช้ข้อสอบพวก TOEFL / TOEIC / IELTS (หรือจะใช้ CU-TEP แล้วเทียบคะแนนไปเป็น TOEFL ก็ได้) ถ้าไม่มีการ
วัดผล นักเรียนก็จะไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ระดับใด เช่น ถ้านักเรียนได้ TOEIC 700 ขณะที่บริษัทเอกชนต้องการ750 คะแนน หรือได้ TOEFL 80 แต่การสมัครเรียนต่อต้องใช้ประมาณ 90 – 100 คะแนน แบบนี้นักเรียนก็จะตัง้ ใจมากขึ้น และขยันไปใช้ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
 ต่อเนื่องจากข้อที่แล้ว การลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ แล้วได้เกรด F, D, C, B, A นั้นไม่เหมาะสมแล้วเพราะได้เกรด D หรือ C หลายๆ ตัวก็เรียนจบได้ปริญญา แต่เราต้องการให้นิสิตจุฬาฯ เก่งภาษาอังกฤษที่TOEIC ≥ 750 เราก็ต้องใช้คะแนน TOEIC เป็นส่วนหนึ่งของการสำเร็จการศึกษา อาจจะใช้ CU-TEP แล้วเทียบคะแนนเอา หรือจะจัดสอบ TOEIC ให้นิสิตทัง้ มหาวิทยาลัยก็ได้เช่นกัน (จะได้ราคาที่ถูกลง ดีกว่าให้นิสิตไปสมัครสอบเอง) ถ้าไม่บังคับแบบนี้แล้วเด็กที่ไหนมันจะตั้งใจเรียนครับ ส่วนใหญ่ก็เรียนกันแค่พอให้ผ่านๆไม่ได้ F เป็นใช้ได้ แล้วก็จะไปเจอความจริงเอาตอนสมัครงานหรือเรียนต่อว่าต้องได้ TOEIC หรือ TOEFLมากกว่าเท่านั้นเท่านี้ แล้วเราจะผลิตบัณฑิตที่บริษัทเค้าไม่รับทำงานออกไปทำไมครับ ผมว่าถึงเวลาบังคับเกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษให้เป็นส่วนหนึ่งของการสำเร็จการศึกษาได้แล้ว เป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่จะต้องทำให้นิสิตตระหนักถึงเรื่องนี้ ผมคิดว่ายังมีนิสิตที่เข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่มากว่า ได้ปริญญาจากจุฬาฯออกไปแล้วจะหางานได้ง่ายๆ ซึ่งในปจั จุบันไม่เป็นความจริงเลย
สุดท้ายก็อยากจะบอกนักเรียนนักศึกษาว่าทุกวันนี้ทักษะ “ภาษาอังกฤษ” เป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้เสียแล้ว ถ้ามีโอกาสที่จะฝึกฝนภาษาอังกฤษให้ชำนาญ ก็รีบทำเสียเถอะ สถาบันภาษาของจุฬาฯ มีห้องเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับฝึกภาษาอังกฤษ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จุฬาฯ ใช้ระบบเหมาจ่ายค่าเทอม ดังนั้นนักเรียนสามารถไปลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติมได้ อาจจะเป็นของสถาบันภาษา หรือคณะอักษรศาสตร์ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือใครมีสตางค์จะไปเรียนกับสถาบันสอนภาษาอังกฤษที่มีอาจารย์ฝรัง่ มาสอนก็ดี โดยเฉพาะ listening และ speaking ควรจะฝึกกับ native speaker จะดีกว่า"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Blog Archive

ป้ายกำกับ

การทําข้อสอบreading (1) เก่งภาษาอังกฤษในเวลาสั้นๆ (1) เกมภาษาอังกฤษสำหรับอนุบาล (1) ข้อสอบพวก TOEFL (2) ข้อสอบภาษาอังกฤษ (1) ครูพี่แนน (2) คล้องจอง (1) เคล็ดลับการทำข้อสอบreading (2) จำคำศัพท์ (17) เดาศัพท์ภาษาอังกฤษ (9) ติวภาษาอังกฤษตัวต่อตัว (14) ติวศัพท์ (20) ท่องศัพท์ (14) เทคนิคการสอนคำศัพท์ (6) เทคนิคใช้that (1) แนะนำหนังสือภาษาอังกฤษ (6) บทสนทนา (2) บทสนาทนาภาษาอังกฤษ (4) ฟังภาษาอังกฤษ (3) ภาษาอังกฤษ (21) ภาษาอังกฤษกับกฎหมาย (1) ภาษาอังกฤษทางบัญชี (1) รวบรวม25กฎของอาจารย์บุญชัย (1) เร่งสปีด (1) เรียนภาษาอังกฤษ (28) เรียนภาษาอังกฤษราคาถูก (8) สอนศัพท์ (11) หลักการใช้ that (1) อาจารย์สมศรี (1) อ่านภาษาอังกฤษ (1) AX 22 (1) cd เรียนภาษาอังกฤษ (1) CDเรียนภาษาอังกฤษ (1) closing sections (1) Cloze Test (1) conversation (1) dictionary (1) fast-english (1) General knowledge (1) GMAT (1) inferior (1) Language in Daily Life (1) main idea (2) parts of speech (1) prefix and suffix (1) reading comprehension (2) reading skill (2) TOEFL (1) TOPIC NOUN (1) vocabulary (2) vocabulary game (2) word formation (2)
 
Copyright © 2011 เรียนภาษาอังกฤษ | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio
Top Stories