Technique 01 การแปลสุภาษิต คำพังเพย
และสำนวนต่าง ๆ
สุภาษิตหรือคำพังเพย คือ ข้อความสั้น ๆ
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสอนหรือเตือนใจผู้อ่าน สุภาษิตหรือคำพังเพยในภาษาใดก็ตามมักสะท้อนวัฒนธรรมของเจ้าของภาษานั้น โดยแสดงให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ ลักษณะนิสัย ความคิดอ่าน ตลอดจนรสนิยมต่าง ๆ
ปัญหาก็คือ ถ้าผู้แปลไม่เข้าใจวัฒนธรรมตลอดจนเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ ก็อาจแปลออกมาได้ไม่เป็นที่เข้าใจของผู้อ่าน
ส่วนสำนวน คือ ลักษณะข้อความที่มีความหมายแฝงอยู่ และเป็นปัญหาที่ยากกว่าการแปลคำศัพท์ธรรมดา เพราะผู้แปลไม่ทราบว่าข้อความนั้นเป็นสำนวน จึงแปลออกมาตรง ๆ หรือถึงทราบว่าเป็นสำนวนก็อาจไม่เข้าใจความหมายหรือเข้าใจแต่ไม่อาจแปลออกมาให้ผู้อ่านที่เป็นคนไทยเข้าใจได้ เช่น He was soaking wet; he looked like a drowned rat.
มีผู้แปลว่า : เขาเปียกราวกับหนูตกน้ำ
ควรแปลว่า :
เขาเปียกปอนมองดูเหมือนลูกหมาตกน้ำ
การแปลโดยปรับความหมายให้เทียบกับสำนวนไทยจะทำให้ผู้อ่านที่เป็นคนไทย เข้าใจสำนวนนี้ได้ดีขึ้น วิธีแปล
1. ในการแปลสุภาษิตหรือคำพังเพย
ถ้าสามารถเปรียบเทียบความหมายโดยใช้สุภาษิตหรือคำพังเพยของไทยในความหมายเดียวกันได้ก็ให้ใช้สุภาษิตไทย
ถือว่าเป็นการแปลแบบเทียบเคียง
ดังตัวอย่างที่ยกมาแล้ว
2. ถ้าไม่มีความสามารถแปลเทียบเคียงได้ ก็ให้แปลออกมาตรง ๆ
แล้วอธิบายความหมายของสุภาษิตนั้นไว้ในวงเล็บ
3. ในการแปลสำนวน
ถ้าสงสัยว่าเป็นสำนวนให้ตรวจสอบกับพจนานุกรมหรือเจ้าของภาษา
ในการเปิดจากพจนานุกรมให้เปิดหาจากคำหลักของสำนวนนั้น เช่น to vanish into thin air ก็ให้หาจากคำว่า
air นอกจากการหาความหมายที่ถูกต้องของสำนวนจากพจนานุกรมหรือเจ้าของภาษาแล้ว
ควรพยายามแปลให้ฟังดูเป็นไทย ๆ ไม่ควรแปล ตรง ๆ ตามสำนวนเดิม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://e-book.ram.edu/e-book/e/en322/en322_10_01.htm
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://e-book.ram.edu/e-book/e/en322/en322_10_01.htm
Technique 02 การแปลประโยคกรรม (Passive voice)
รูปประโยคกรรมในภาษาอังกฤษมี 2
ชนิด คือ
1. ประโยคกรรมชนิดไม่มีตัวการ (ผู้กระทำ) ปรากฏอยู่ในประโยค
(Non-agentive or agentless passives) เช่น The shop was burned down.
(Non-agentive or agentless passives) เช่น The shop was burned down.
2. ประโยคกรรมชนิดมีตัวการ (ผู้กระทำ) ปรากฏอยู่ในประโยค
(Agentive passives) เช่น The letter was written by a boy.
(Agentive passives) เช่น The letter was written by a boy.
วิธีแปล
ในการแปลประโยคกรรมจากภาษาอังกฤษเป็นไทยนั้น ผู้แปลจะต้องพิจารณาปริบท (context) ในภาษาอังกฤษอย่างรอบคอบ เพื่อดูความหมายที่แฝงอยู่ ถ้าปริบทเป็นประสบการณ์ในเชิงลบ
หรือความหมายในทางไม่ดี เวลาแปลก็ให้ใช้ประโยคกรรมแบบที่
1. คือ ประโยคกรรมถูก
ถ้าปริบทเป็นประสบการณ์อันน่าพึงพอใจ หรือบ่งบอกถึงสถานการณ์อันน่ายินดี
ก็ให้ใช้ประโยคกรรมได้รับ หรือประโยคกรรมแบบที่
2. หากปริบทบ่งบอกว่าประธานเป็นเพียงผู้รับผลการกระทำจากใครคนใดคนหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ให้ใช้ประโยคกรรมแบบที่
3. ซึ่งมีนัยความหมายเป็นกลาง
ประโยคกรรมมีนัยความหมายเป็นกลางจะทำหน้าที่บอกกล่าว เล่าเรื่องหรือรายงานเหตุการณ์ สถานการณ์
ประโยคกรรมนัยความหมายไม่ดี
The
police station at Mukdaharn was attacked by a group of terrorists on Sunday. สถานีตำรวจที่มุกดาหารถูกกลุ่มผู้ก่อการร้ายโจมตีเมื่อวันอาทิตย์
ประโยคกรรมนัยความหมายดี
He was appointed the chairman of the company. เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานบริษัท
He was appointed the chairman of the company. เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานบริษัท
This building has been well designed to conserve energy.
ตึกนี้ออกแบบมาเป็นอย่างดีให้ประหยัดพลังงาน ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น