ความเป็นมาของภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาตระกูลเจอร์เมนิกตะวันตกมีต้นตระกูลมาจากอังกฤษเป็นภาษาแรกที่มีคนพูดเป็นภาษาแรกมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ( พ.ศ. 2545
: 402 ล้านคน) ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลาง( lingua franca) เนื่องจากอิทธิพลทางทหาร
เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมของ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาในกรณีที่เป็นไปได้นักศึกษาเกือบทุกคนทั่วโลกจำเป็นจะต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษและความรู้ในภาษาอังกฤษจำเป็น
สำหรับการทำงานหลายด้านอาชีพ เช่น สถาบันอุดมศึกษาต้องการความรู้ในภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
คำว่า อังกฤษ ในภาษาไทย เป็นคำที่ยืมมาจากภาษามลายูIngeris
ตัวอักษร
A = เอ
|
B = บี
|
C = ซี
|
D = ดี
|
E = อี
|
F = เอฟ
|
G = จี
|
H = เอช
|
I = ไอ
|
J = เจ
|
K = เค
|
L = แอล
|
M = เอ็ม
|
N = เอ็น
|
O = โอ
|
P = พี
|
Q = คิว
|
R = อาร์
|
S = เอส
|
T = ที
|
U = ยู
|
V = วี
|
W = ดับเบิลยู
|
X = เอกซ์
|
Y = วาย
|
Z = แซด
|
|
H ออกเสียง เอช สำหรับเสียง เฮช
ในบางสำเนียง เช่น ในไอร์แลนด์และออสเตรเลีย ตามเสียงการออกเสียงของตัวอักษร
Z ออกเสียง แซด ในประเทศยุโรปตามที่มาจากอักษรกรีก ซีตา ในสหรัฐอเมริกาออกเสียง ซี
Z ออกเสียง แซด ในประเทศยุโรปตามที่มาจากอักษรกรีก ซีตา ในสหรัฐอเมริกาออกเสียง ซี
หลักการการถอดเสียง
เขียนตามเสียงเดิมโดยเขียนเป็นภาษาไทยให้สามารถอ่านได้
ตัวอักษรที่ใช้สามารถให้คนอ่านและเข้าใจต้นเสียงได้ รวมทั้ง "ร์"
หมายถึงเสียง R, " ส์" หมายถึงเสียง S และเสียงอื่นๆที่ไม่มีใน ภาษาไทย
แต่ถ้าขัดกับกดข้างบนให้ตัดเสียงที่ทำให้การอ่านภาษาไทยยากออก
เช่น Forbesเขียน ฟอรบส์ ฟอบส์ หรือ ฟอร์บ เสียงสะกดให้ใช้คำที่ง่ายต่อการออกเสียงสะกด
เช่น P ใช้ เสียง พ แต่สะกดด้วย ป (แม่กบ) และ T ใช้ เสียง ท แต่สะกด ต.เต่า (แม่กด) คำบางคำที่ทับศัพท์มาจากภาษาอื่น
และใช้ตัวอักษรเพื่ออ้างถึงที่มา คำอ่านอาจจะเปลี่ยนไป เช่น เสียง L ใช้ลงท้ายด้วย ล.ลิง อ่านการสะกดใน แม่เกอวไม่ใช่ แม่กน เช่น อีเมล อ่าน
อี-เมว ไม่ใช่ อี-เมน เสียง อู ในภาษาอังกฤษดั้งเดิม กับอังกฤษอเมริกัน ออกเสียง บางคำออกเสียงต่างกัน
U ที่ออกเสียง อู ถ้าอยู่คำแรกเป็น ยู ถ้าอยู่ในประโยคออกเสียง
อิว ออกเสียง อูเฉพาะ ชื่อเฉพาะ และคำที่นำหน้าด้วย B, D, L N, R, S, T, X สำหรับคำภาษาอังกฤษอังกฤษ และไม่ออกเสียงสำหรับขึ้นต้นด้วย J (ตามหลัก เสียงวายล่องหน ) เช่น instiute ซึ่งสามารถเขียนได้เป็น อินสทิทูต และ อินสทิทิวต์ คำที่มาจากภาษาอื่น
การอ่านออกเสียงจะไม่ตรงซึ่งไม่สามารถใช้หลักการทับศัพท์ได้ เช่น entrée ( รากศัพท์ฝรั่งเศส) อองเทร , karaoke ( ญี่ปุ่น)
คาราโอเกะ
คำบางคำมาจากรากศัพท์เดิม ซึ่งเกิดจากการแปลรูปสระ
การอ่านออกเสียงอ่านตามเสียงเดิม ทำให้หลักการกำหนดได้ไม่ครบ เช่น คำว่า dove (นกชนิดหนึ่ง)
มาจาก duv ซึ่งอ่านว่า "ดัฟ" ภาษาอังกฤษ (อังกฤษ: English
language) เป็นภาษาตระกูลเจอร์เมนิกตะวันตก มีต้นตระกูลมาจากอังกฤษ
เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแรกมากที่สุดเป็นอันดับ 3 (พ.ศ.
2545: 402 ล้านคน) ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลาง (lingua
franca) เนื่องจากอิทธิพลทางทหาร เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพราะว่าภาษาอังกฤษนั้นได้เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อผู้คนในหลากหลายอาชีพ
ซึ่งบางอาชีพต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษมาช่วยประสานงาน ทำให้งานทุกอย่างนั้นง่ายราบรื่นและสำเร็จลงไปได้ด้วยดี
คำว่า อังกฤษ ในภาษาไทย มีที่มาจากคำอ่านของคำว่า Inggeris ในภาษามลายูที่ยืมมาจาก anglais (English)ในภาษาฝรั่งเศส
ภาษาอังกลิช/แองกลิช (Angles) เป็นภาษาโบราณซึ่งใช้กันในชนชาติแองโกลที่อพยพสู่เกาะบริเตน และเป็นหนึ่งในภาษาแบบฉบับของภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้น หากพูดถึงภาษาแองกลิชแล้ว ก็ต้องระวังเสียงพ้องกับคำว่า ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้มากเป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก รองลงมาจากภาษาจีน ภาษาฮินดี และใกล้เคียงกับภาษาสเปน
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกในประเทศต่างๆ ต่อไปนี้ ออสเตรเลีย บาฮามาส บาร์บาดอส เบอร์มิวดา ยิบรอลตาร์ กายอานา จาไมกา นิวซีแลนด์ แอนติกาและบาร์บูดา เซนต์คิตส์และเนวิส ตรินิแดดและโตเบโก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ยังมีฐานะเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาอื่นๆ ใน เบลีซ (ร่วมกับภาษาสเปน) แคนาดา (ร่วมกับภาษาฝรั่งเศส) โดมินิกา เซนต์ลูเซียและเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ (ร่วมกับภาษาครีโอลฝรั่งเศส) ไอร์แลนด์ (ร่วมกับภาษาไอริช) สิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษามาเลย์ ภาษาจีนกลาง ภาษาทมิฬ และภาษาเอเชียอื่นๆ) และแอฟริกาใต้ (ซึ่ง ภาษาซูลู ภาษาโคซา ภาษาแอฟริคานส์ และ ภาษาโซโทเหนือ มีคนพูดมากกว่า) และเป็นภาษาที่ไม่ใช่ภาษาราชการที่ใช้กันมากที่สุดในอิสราเอล
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการที่ไม่ใช่ภาษาท้องถิ่นในแคเมอรูน ฟิจิ ไมโครนีเซีย กานา แกมเบีย ฮ่องกง (จีน) อินเดีย คิริบาส เลโซโท ไลบีเรีย เคนยา ประเทศนามิเบีย ไนจีเรีย มอลตา หมู่เกาะมาร์แชลล์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโซโลมอน ซามัว เซียร์ราลีโอน สวาซิแลนด์ แทนซาเนีย แซมเบีย และซิมบับเว
ในทวีปเอเชีย ประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อาณานิคมของบริติชเช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการโดยมีการเรียนการสอนในโรงเรียน ในฮ่องกงภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาจีนใช้ในการติดต่อธุรกิจ อย่างไรก็ตามในฮ่องกงมีคนจำนวนมากไม่รู้ภาษาอังกฤษ
ระบบการเขียน
ภาษาอังกฤษใช้อักษรละตินเป็นอักษรหลักในการเขียน และการสะกดคำหลายคำจะไม่ตรงกับการอ่านออกเสียง ซึ่งทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ยากภาษาหนึ่งในการเรียน
คำว่า อังกฤษ ในภาษาไทย มีที่มาจากคำอ่านของคำว่า Inggeris ในภาษามลายูที่ยืมมาจาก anglais (English)ในภาษาฝรั่งเศส
ภาษาอังกลิช/แองกลิช (Angles) เป็นภาษาโบราณซึ่งใช้กันในชนชาติแองโกลที่อพยพสู่เกาะบริเตน และเป็นหนึ่งในภาษาแบบฉบับของภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้น หากพูดถึงภาษาแองกลิชแล้ว ก็ต้องระวังเสียงพ้องกับคำว่า ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้มากเป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก รองลงมาจากภาษาจีน ภาษาฮินดี และใกล้เคียงกับภาษาสเปน
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกในประเทศต่างๆ ต่อไปนี้ ออสเตรเลีย บาฮามาส บาร์บาดอส เบอร์มิวดา ยิบรอลตาร์ กายอานา จาไมกา นิวซีแลนด์ แอนติกาและบาร์บูดา เซนต์คิตส์และเนวิส ตรินิแดดและโตเบโก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ยังมีฐานะเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาอื่นๆ ใน เบลีซ (ร่วมกับภาษาสเปน) แคนาดา (ร่วมกับภาษาฝรั่งเศส) โดมินิกา เซนต์ลูเซียและเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ (ร่วมกับภาษาครีโอลฝรั่งเศส) ไอร์แลนด์ (ร่วมกับภาษาไอริช) สิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษามาเลย์ ภาษาจีนกลาง ภาษาทมิฬ และภาษาเอเชียอื่นๆ) และแอฟริกาใต้ (ซึ่ง ภาษาซูลู ภาษาโคซา ภาษาแอฟริคานส์ และ ภาษาโซโทเหนือ มีคนพูดมากกว่า) และเป็นภาษาที่ไม่ใช่ภาษาราชการที่ใช้กันมากที่สุดในอิสราเอล
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการที่ไม่ใช่ภาษาท้องถิ่นในแคเมอรูน ฟิจิ ไมโครนีเซีย กานา แกมเบีย ฮ่องกง (จีน) อินเดีย คิริบาส เลโซโท ไลบีเรีย เคนยา ประเทศนามิเบีย ไนจีเรีย มอลตา หมู่เกาะมาร์แชลล์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโซโลมอน ซามัว เซียร์ราลีโอน สวาซิแลนด์ แทนซาเนีย แซมเบีย และซิมบับเว
ในทวีปเอเชีย ประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อาณานิคมของบริติชเช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการโดยมีการเรียนการสอนในโรงเรียน ในฮ่องกงภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาจีนใช้ในการติดต่อธุรกิจ อย่างไรก็ตามในฮ่องกงมีคนจำนวนมากไม่รู้ภาษาอังกฤษ
ระบบการเขียน
ภาษาอังกฤษใช้อักษรละตินเป็นอักษรหลักในการเขียน และการสะกดคำหลายคำจะไม่ตรงกับการอ่านออกเสียง ซึ่งทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ยากภาษาหนึ่งในการเรียน
ผู้คนจำนวนเพิ่มขึ้นกำลังพยายามเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาอื่นใดในโลก
ภาษาอังกฤษใช้ในการเจรจาประสานงานด้านการเมืองและธุรกิจระหว่างประเทศ ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาในวงการวิทยา-ศาสตร์และการแพทย์ การติดต่อระหว่างประเทศ เช่น
นักบินที่ขับเครื่องบินพาณิชย์ต่างๆต้องพูดภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศหลักซึ่งทำการสอนกันในโรงเรียนจำนวนมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้และยุโรป
เด็กนักเรียนในประเทศฟิลิปปินส์และญี่ปุ่นเริ่มเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่อายุน้อยๆ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการในประเทศต่างๆ
มากกว่า 75 ประเทศ รวมทั้ง อังกฤษ
แคนาดา สหรัฐอเมริกา
ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้
ในประเทศที่ผู้คนพูดภาษาแตกต่างกันมาก
ภาษาอังกฤษมักจะถูกใช้เป็นภาษาราชการเพื่อให้ประชาชนสื่อสารกันได้ ตัวอย่างที่ดีได้แก่ประเทศอินเดีย ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสำหรับคนทั่วไปในประเทศนี้ซึ่งมีภาษาพูดสื่อสารกันอย่างน้อยที่สุดถึง
24 ภาษา
มีคนใช้ภาษาอังกฤษพูดกันมากกว่าหนึ่งล้านคน
ภาษาอังกฤษมาจากไหน ทำไมภาษาอังกฤษจึงกลายเป็นภาษายอดนิยม เพื่อจะตอบคำถามเหล่านี้ เราต้องย้อนเวลากลับไปกว่า 5,000 ปี ณ ดินแดนตอนเหนือทะเลดำด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าผู้คนในบริเวณนั้นพูดภาษาที่เรียกว่า โพรโทอินโดยูโรเปียน
ซึ่งปัจจุบันไม่ได้พูดกันแล้ว
บรรดานักวิจัยด้านภาษาไม่อาจทราบได้ว่าภาษานี้เป็นเช่นไร อย่างไรก็ตามเชื่อกันว่าภาษาโพรโทอินโดยูโรเปียนเป็นต้นกำเนิดของภาษาตระกูลยูโรเปียนต่างๆ
รวมทั้งภาษาที่เป็นภาษากรีกโบราณ
ภาษาเยอรมันโบราณ
และภาษาละตินโบราณด้วย ภาษาละตินสูญหายไปจากภาษาพูดแล้ว
แต่ทิ้งร่องรอยภาษาที่ยิ่งใหญ่ไว้ในเวลาต่อมาถึง 3 ภาษา ซึ่งกลายเป็นภาษาสเปน ภาษาฝรั่งเศส
และภาษาอิตาเลียนสมัยใหม่
ส่วนภาษาเยอรมันโบราณกลายมาเป็นภาษาดัทช์
ภาษาเดนิช ภาษาเยอรมัน ภาษานอร์วีเจียน และภาษาสวีดิช
และหนึ่งในภาษาซึ่งพัฒนาเป็นภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษคือผลจากการบุกรุกเกาะอังกฤษเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว
ผู้บุกรุกอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งด้านเหนือของทวีปยุโรป
การรุกรานครั้งแรกเกิดจากกลุ่มชนที่เรียกว่า “แองเกิลส์” ประมาณ 1,500 ปีมาแล้ว พวก “แองเกิลส์”
คือชาวเยอรมันที่เดินทางข้ามช่องแคบอังกฤษไป ต่อมาอีก 2
กลุ่มชนก็เดินทางข้ามไปถึงอังกฤษ
พวกเขาคือกลุ่มแซกซันส์และจูตส์
กลุ่มชนเหล่านี้ได้พบกับชาวเคลต์ (Celt ออกเสียงว่า
“เซลต์” ก็ได้ –
ผู้แปล) ซึ่งอาศัยอยู่ที่เกาะอังกฤษมาหลายพันปีแล้ว ชาวเคลต์กับผู้บุกรุกเหล่านั้นต่อสู้กัน
ต่อมา
ชาวเคลต์ส่วนใหญ่ถูกฆ่าตายหรือถูกจับเป็นทาส บางคนหลบหนีไปอยู่ในดินแดนเวลส์ในปัจจุบัน หลายปีผ่านไป
พวกแซกซันส์ แองเกิลส์ และจูตส์ต่างใช้ภาษาปะปนกัน ผลลัพธ์ก็คือ
เกิดภาษาที่เรียกว่า “แองโกลแซกซัน
หรือภาษาอังกฤษยุคเก่า”
ภาษาอังกฤษยุคเก่านั้นเข้าใจยากที่สุด
มีผู้เชี่ยวชาญเพียงไม่กี่คนที่สามารถอ่านภาษาอังกฤษยุคเก่าได้
ผลงานเขียนภาษาอังกฤษยุคเก่ายังคงเหลืออยู่มาก ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือเรื่อง เบโอวุลฟ์
(Beowulf) ซึ่งเป็นงานร้อยกรองเก่าแก่ที่สุด
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าเป็นงานเขียนในประเทศอังกฤษที่มีมานานกว่า 1,000 ปีแล้ว
ชื่อของผู้เขียนเรื่องนี้ไม่มีผู้ใดทราบ
เบโอวุลฟ์
เป็นเรื่องของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งต่อสู้กับปีศาจร้ายทั้งหลาย พระองค์คือกษัตริย์ที่ดีเป็นที่ชื่นชอบของประชากร หนังสือนี้ถูกเขียนขึ้นใหม่โดย เซมัส ฮีนีย์
ซึ่งเล่าเรื่องของยุคโบราณด้วยภาษาอังกฤษสมัยใหม่ (มีภาพยนตร์เข้าฉายในไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน
2550 ชื่อ “เบวุลฟ์ – ขุนศึกโค่นอสูร” – ผู้แปล)
การรุกรานดินแดนอังกฤษครั้งใหญ่ต่อมาเกิดขึ้นทางเหนือสุดของประเทศ เริ่มต้นประมาณ 1,100 ปีแล้ว กลุ่มชนชาวไวกิ้งที่ดุร้ายได้บุกรุกชายฝั่งของอังกฤษ ชาวไวกิ้งมาจากเดนมาร์ก นอร์เวย์และประเทศในตอนเหนือ (ของยุโรป) พวกเขาเข้าค้นหาและยึดครองสินค้า จับผู้คนเป็นทาส รวมทั้งยึดข้าวของมีค่าต่างๆด้วย
ในบางพื้นที่พวกไวกิ้งมีอำนาจมาก
พวกเขาจึงสร้างฐานที่มั่นชั่วคราวซึ่งต่อมากลายเป็นที่ตั้งถาวรหลายแห่ง แล้วชาวไวกิ้งจำนวนมากก็ตั้งรกรากอยู่ในอังกฤษ
ภาษาอังกฤษหลายคำที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้มาจากชาวไวกิ้งในสมัยโบราณ sky, leg, skull, crawl, lift และ take เป็นคำที่มาจากภาษาในยุคเก่าของดินแดนตอนเหนือของยุโรป
การโจมตีอังกฤษครั้งใหม่เกิดขึ้นนานกว่า 900 ปีมาแล้ว คือ ค.ศ. 1066
ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์เรียกการบุกรุกครั้งนี้ว่า การรุกรานจากชาวนอร์มัน โดยมีกษัตริย์วิลเลียมผู้พิชิตเป็นผู้นำทัพ
ชาวนอร์มันคือกลุ่มคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสจากแคว้นนอร์มังดีทางเหนือของประเทศฝรั่งเศส พวกเขามาเป็นผู้ปกครองกลุ่มใหม่ของอังกฤษ ผู้ปกครองเหล่านี้พูดแต่ภาษาฝรั่งเศสเท่านั้นเป็นเวลาหลายร้อยปี
ซึ่งนับว่าเป็นภาษาสำคัญที่สุดของโลกในยุคนั้น เป็นภาษาที่ผู้มีการศึกษาใช้กัน
แต่ชาวบ้านธรรมดาๆของประเทศอังกฤษยังคงพูดภาษาอังกฤษยุคเก่าอยู่
ภาษาอังกฤษยุคเก่ารับคำต่างๆมาจากกลุ่มฝรั่งเศสนอร์มัน ได้แก่ damage,
prison และ marriage คำในภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและการปกครองได้มาจากกลุ่มฝรั่งเศสนอร์มัน เช่น jury,
parliament และ justice
ภาษาฝรั่งเศสที่ใช้โดยกลุ่มผู้ปกครองชาวนอร์มันได้เปลี่ยนแปลงวิธีพูดภาษาอังกฤษมาเป็นเวลา
800 ปีแล้ว
ภาษาอังกฤษนั้นจึงเป็นภาษาที่ผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า ภาษาอังกฤษยุคกลาง วันเวลาผ่านไป
กลุ่มปกครองชาวนอร์มันก็ไม่ได้พูดภาษาฝรั่งเศสโดยแท้อีกแล้ว
ภาษาที่พวกเขาใช้เป็นการผสมกันระหว่างภาษาฝรั่งเศสกับภาษาอังกฤษยุคกลาง
ภาษาอังกฤษยุคกลางพูดคล้ายกับภาษาอังกฤษยุคใหม่ แต่ปัจจุบันนี้นับว่าเข้าใจได้ยากมาก ผลงานเขียนจำนวนมากในยุคกลางยังคงมีอยู่ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเขียนโดยเจฟฟรีย์ ชอเซอร์
กวีซึ่งอาศัยอยู่ในลอนดอนและถึงแก่กรรมที่นั่นในปี ค.ศ.1400 ผลงานของชอเซอร์ที่โด่งดังมากที่สุดคือ The Canterbury Tales เขียนขึ้นมากว่า 600 ปีแล้ว
เดอะแคนเทอร์เบอรีเทลส์ เป็นผลงานรวมบทร้อยกรองเกี่ยวกับผู้คนมากมายแตกต่างกันที่เดินทางมายังเมืองแคนเทอร์เบอรี โปรดรับฟังวอร์เรน เชียร์ อ่านตอนเริ่มเรื่อง เดอะแคนเทอร์เบอรีเทลส์ อันโด่งดังของชอเซอร์
ผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษกล่าวว่า เจฟฟรีย์
ชอเซอร์ เป็นนักเขียนสำคัญคนแรกที่ใช้ภาษาอังกฤษ พวกเขาเห็นพ้องกันว่า
บทร้อยกรองภาษาอังกฤษยุคกลางที่ยิ่งใหญ่ของชอเซอร์นี้ให้ภาพลักษณ์ของผู้คนในยุคนั้นอย่างแจ่มชัดแก่พวกเรา
ผู้คนที่ถูกบรรยายไว้ใน เดอะแคนเทอร์เบอรีเทลส์
นั้น บ้างก็ฉลาดและกล้าหาญ
บางคนทั้งโง่และเซ่อหลายคนคิดว่าตนเองสำคัญอย่างยิ่ง บางคนแสนดี
บ้างก็ชั่วร้าย
แต่ผู้คนเหล่านั้นทั้งหมดยังคงเหมือนชีวิตจริง
ประวัติศาสตร์ของภาษาอังกฤษยังคงดำเนินต่อไป
ขณะที่ภาษาอังกฤษยุคกลางกลายมาเป็นภาษาอังกฤษยุคใหม่ที่เราใช้พูดกันทุกวันนี้
ภาษาอังกฤษพัฒนามาอย่างไร อันเป็นผลจากการที่ประเทศอังกฤษถูกรุกรานหลายครั้ง ครั้งแรกเกี่ยวกับชน 3 เผ่าพันธุ์ ได้แก่
กลุ่มแองเกิลส์ กลุ่มจูตส์ และกลุ่มแซกซันส์
การผสมผสานภาษาของกลุ่มชนเหล่านี้ทำให้เกิดภาษาที่เรียกว่า แองโกลแซกซันหรือภาษาอังกฤษยุคเก่า ภาษานี้ฟังคล้ายภาษาเยอรมันมาก มีคำไม่มากนักที่คงเหลือใช้กันอยู่ในกลุ่มเคลต์ที่ประเทศอังกฤษ
การรุกรานอังกฤษอีก 2 ครั้งเพิ่มคำให้ภาษาอังกฤษยุคเก่า กลุ่มไวกิ้งจากเดนมาร์ก นอร์เวย์
และสวีเดนเดินทางมาประเทศอังกฤษกว่า 1,000
ปีแล้ว
การบุกรุกอังกฤษครั้งต่อมาเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1066 โดยกองกำลังฝรั่งเศสจากแคว้นนอร์มังดี มีผู้นำทัพที่เรียกขานกันว่า “กษัตริย์วิลเลียมผู้พิชิต”
กลุ่มผู้ปกครองชาวนอร์มันนี้ได้เพิ่มคำให้ภาษาอังกฤษอีกมาก คำศัพท์ parliament,
jury, justice และคำอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายก็ได้มาจากชนกลุ่มนี้
เมื่อเวลาผ่านไป
ภาษาต่างๆเกิดการผสมผสานกันซึ่งผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษเรียกว่า ภาษาอังกฤษยุคกลาง
ขณะที่ภาษาอังกฤษยุคกลางยังคงมีเสียงคล้ายภาษาเยอรมันนั้น ก็เริ่มมีเสียงเหมือนภาษาอังกฤษยุคใหม่ด้วย
ชอเซอร์เขียนบทกวีนิพนธ์นี้ในช่วงปลาย
ค.ศ. 1300 ภาษาที่เขียนเป็นภาษาที่ประชาชนใช้กันอยู่
แต่กลุ่มผู้ปกครองประเทศอังกฤษในสมัยนั้นยังคงใช้ภาษาฝรั่งเศสนอร์มันที่พวกเขานำมาเมื่อปี
ค.ศ. 1066
บรรดากษัตริย์ของอังกฤษไม่ได้ใช้ภาษาเช่นเดียวกับที่ประชาชนใช้สื่อสารกัน จนกระทั่งถึงช่วงต้นปี ค.ศ. 1400 ภาษาฝรั่งเศสนอร์มันจึงใช้กันน้อยลงๆ และสูญหายไปในที่สุด
ภาษาอังกฤษได้รับอิทธิพลอย่างมากจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมายาวนานกว่า 1,400
ปีแล้ว ตั้งแต่ปีค.ศ.597
ศาสนจักรโรมันคาทอลิกเริ่มความพยายามเผยแผ่ศาสนาดังกล่าวเพื่อให้เป็นศาสนาประจำชาติของอังกฤษ
ภาษาของกลุ่มโรมันคาทอลิกคือภาษาละติน ภาษาละตินไม่ได้ใช้พูดกันในประเทศใดเลยในขณะนั้นมีเพียงคนบางกลุ่มใช้อยู่
ภาษาละตินทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกของนิกายนี้ในกรุงโรมกับสมาชิกในอังกฤษเกิดขึ้นได้ผู้มีการศึกษาสูงในประเทศต่างๆสามารถสื่อสารกันได้โดยใช้ภาษาละติน
ภาษาละตินส่งผลอันยิ่งใหญ่ต่อภาษาอังกฤษ
ต่อไปนี้ขอยกตัวอย่างคำภาษาละติน “discus” ได้กระจายเป็นคำหลายคำในภาษาอังกฤษคือ disk, dish, และ desk คำละติน “quietus” กลายเป็น “quiet” ในภาษาอังกฤษ ชื่อพันธุ์ไม้ภาษาอังกฤษ
เช่น ginger และ cedar มาจากละติน
เช่นเดียวกับศัพท์การแพทย์ cancer
ภาษาอังกฤษเริ่มเป็นเหมือนสิ่งมีชีวิตน้อยๆที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ภาษาอังกฤษก้าวหน้ารวดเร็วขึ้นเมื่อวิลเลียม แคกซ์ตันเดินทางกลับมาประเทศอังกฤษในปี
ค.ศ. 1476 เขาไปอยู่ที่ฮอลแลนด์และดินแดนอื่นๆในยุโรป
ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขาได้ศึกษาวิชาการพิมพ์
เขากลับสู่อังกฤษพร้อมกับการก่อตั้งสำนักพิมพ์แห่งแรกขึ้นมา
สำนักพิมพ์ทำให้ผู้คนเกือบทุกคนสามารถซื้อหนังสืออ่านได้ ซึ่งช่วยให้การศึกษาและภาษาอังกฤษแพร่หลายออกไปอย่างช้าๆในช่วงคริสต์ศตวรรษที่
1500
ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษายุคใหม่อย่างที่เราจดจำกันอยู่
ผู้พูดภาษาอังกฤษในปัจจุบันน่าจะสามารถรับรู้สื่อสารกับผู้ใช้ภาษาอังกฤษในช่วงปลายศตวรรษที่
16 ได้
ในห้วงเวลาดังกล่าวนี้นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของภาษาอังกฤษได้ผลิตผลงานเขียนของเขาขึ้นมา นั่นคือวิลเลียม เช็กสเปียร์ บทละครของเขาเริ่มได้รับการตีพิมพ์
แสดงในโรงละครและถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ภายหลังการมรณกรรมของเขาแล้วเกือบ 400
ปี
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าผลงานของเช็กสเปียร์เขียนขึ้นเพื่อแสดงละครเวที ไม่ใช่เพื่อให้อ่าน แต่ถึงกระนั้นการออกเสียงทุกคำที่เขาเขียนขึ้นสามารถสร้างภาพลักษณ์ต่างๆ รวมทั้งความรู้สึกโกรธ กลัว
และเสียงหัวเราะได้บทละครยอดนิยมของเช็กสเปียร์ เรื่อง “โรมิโอและจูเลียต” เป็นเรื่องเศร้าที่ผู้คนพากันหลั่งน้ำตา
เมื่อได้ชมละครที่โด่งดังเรื่องนี้
เรื่องราวของกษัตริย์ผู้กระหายอำนาจ “กษัตริย์ริชาร์ดที่ 3”
เป็นละครอีกเรื่องหนึ่งของเช็กสเปียร์ที่ได้รับความนิยมมาก โปรดฟังเชพ
โอ’นีล อ่านบทเริ่มต้นของเรื่องดังกล่าว
การพัฒนาของภาษาอังกฤษก้าวหน้าอย่างยิ่งใหญ่ในช่วงเวลา 9
ปีก่อนอนิจกรรมของเช็กสเปียร์ เรือขนาดเล็กของอังกฤษ 3
ลำเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในปี ค.ศ. 1607
เรือเหล่านั้นเดินทางถึงดินแดนซึ่งต่อมาคือตอนใต้ของรัฐเวอร์จิเนีย
(สหรัฐอเมริกา)
บรรดาผู้โดยสารเรือเริ่มก่อตั้งอาณานิคมแห่งแรกจากจำนวนหลายแห่งของอังกฤษขึ้น ชื่อของอาณานิคมขนาดเล็กแห่งแรกนี้คือ เจมส์ทาวน์
ต่อมาผู้คนในอาณานิคมใหม่เหล่านี้เริ่มเรียกชื่อบริเวณต่างๆด้วยคำยืมมาจากชาวอินเดียนแดงที่อาศัยอยู่ที่นั่นก่อนแล้ว
(คำ “อินเดียนแดง”
นี้เป็นที่เข้าใจเฉพาะในกลุ่มคนไทยด้วยกันเท่านั้น หากท่านใช้ภาษาอังกฤษ โปรดเรียกพวกเขาว่า Native Americans หรือ American Indians –
ผู้แปล) ตัวอย่างคือ
ชื่อแม่น้ำสำคัญหลายสายในสหรัฐอเมริกาเป็นคำในภาษาอินเดียนแดง เช่น
มิสซิสซิปปี เทนเนสซี และมิสซูรี
คำอินเดียนแดงอื่นๆ ได้แก่
ม็อกคาซิน (moccasin)
หมายถึงรองเท้าที่ทำจากหนังสัตว์ซึ่งชาวอินเดียนแดงสวมใส่
การยืมหรือการเพิ่มคำภาษาต่างชาติเข้ามาในภาษาอังกฤษเป็นวิธีขยายตัวของภาษา ชื่อวัน 3
วันในหนึ่งสัปดาห์เป็นตัวอย่างที่ดีในกรณีนี้
ประชากรในยุโรปตอนเหนือยกย่องเทพเจ้า 3 องค์ด้วยการเรียกเป็นชื่อวันพิเศษ
ในรอบสัปดาห์ เทพเจ้าทั้งสามคือโอดิน ธอร์
และเฟรยา วันของเทพโอดินได้แก่คำภาษาอังกฤษวันพุธ เทพธอร์ คือวันพฤหัสบดี และเทพเฟรยาคือวันศุกร์
ประเทศอังกฤษมีอาณานิคมอีกหลายแห่งในทวีปแอฟริกา
เอเชีย แถบคาริบเบียน และอินเดีย
ภาษาอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของภาษาที่ใช้กันในอาณานิคมเหล่านี้ด้วย
ในปัจจุบันต่างก็ได้รับอิสรภาพแล้วแต่ภาษาอังกฤษยังคงเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้สื่อสารกันอยู่
และภาษาอังกฤษก็ขยายเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีคำท้องถิ่นเพิ่มเติมเข้ามา
ตัวอย่างคือคำ “แชมพู”
เป็นสบู่สำหรับสระผมมาจากประเทศอินเดีย “กล้วย – banana” เชื่อกันว่ามาจากแอฟริกา
ผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถอธิบายคำภาษาอังกฤษจำนวนมากได้
เป็นเวลาหลายร้อยปีที่สุนัขถูกเรียกว่า “hound”คำนี้ยังคงมีใช้อยู่แต่ไม่นิยมมากเท่าคำ “dog” ผู้เชี่ยวชาญไม่ทราบว่า “dog”
มาจากที่ใดและเริ่มใช้เมื่อไร
ผู้ที่พูดภาษาอังกฤษเพียงนำมาใช้กันเท่านั้น คำอื่นๆที่ไม่อาจทราบต้นตอได้ เช่น fun, bad และ big
ผู้พูดภาษาอังกฤษเริ่มสร้างคำใหม่ๆด้วยการเชื่อมเข้ากับคำเก่า ตัวอย่างที่ดี
คือคำ “motor” และ “hotel” หลายปีมาแล้วมีผู้นำ 2
คำนี้มารวมกันเป็นคำว่า “motel” ซึ่งหมายถึงโรงแรมขนาดเล็กอยู่ใกล้เส้นทางที่นักเดินทางโดยรถยนต์สามารถเข้าพักค้างคืนได้สะดวก
คำหลายคำได้มาจากอักษรตัวแรกของกลุ่มคำ
หรือชื่ออุปกรณ์ต่างๆ
อุปกรณ์ที่ใช้ค้นหาวัตถุที่ไม่อาจ
มองเห็นได้
คือการค้นหาด้วยคลื่นวิทยุ ข้อความ
Radio Detecting and Ranging
ใช้อักษรตัวแรกสร้างคำใหม่เรียกว่า
“Radar – เรดาร์” ส่วนอีกตัวอย่างหนึ่งคือ NATO (ไทยเรียก“นาโต้” แต่ภาษาอังกฤษออกเสียง“เนโท”
– ผู้แปล) มาจากกลุ่มคำ
The North Atlantic Treaty
Organization
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าภาษาอังกฤษมีคำที่ใช้มากกว่าภาษาอื่นๆเพื่ออธิบายความหมายอย่างเดียว เช่นคำ large,
huge, vast, massive และ
enormous ทั้งหมดมีความหมายว่า “ใหญ่โต”
ผู้คนมักถามว่ามีคำในภาษาอังกฤษมากเท่าใด แน่นอน! ไม่มีใครตอบได้จริงๆ พจนานุกรมของอ็อกซ์ฟอร์ดมีรายการคำศัพท์ประมาณ
615,000 คำ แต่ศัพท์วิทยาศาสตร์จำนวนมากที่ไม่มีในนั้น หากรวมด้วยแล้วย่อมใกล้ถึงหนึ่งล้านคำ
นอกจากนี้
ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายก็ไม่มั่นใจว่าจะนับคำภาษาอังกฤษอย่างไร เช่น
คำ mouse คือหนูซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็ก แต่ก็มีความหมายอื่นที่แตกต่างกันด้วย mouse ยังหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้มือจับเพื่อช่วยควบคุมการใช้คอมพิวเตอร์ หากท่านต้องนับคำภาษาอังกฤษ ท่านจะนับคำ
mouse สองครั้งไหม
แขกที่มาเยือนสถานีเสียงแห่งอเมริกาจะได้ยินผู้คนพูดภาษาแตกต่างกันมากกว่า
40 ภาษา
ผู้ประกาศส่วนใหญ่ที่วีโอเอมาจากประเทศที่พูดภาษาเหล่านี้
องค์กรระหว่างประเทศเช่นวีโอเอย่อมดำเนินงานไม่ได้เลย
หากไม่ใช้ภาษาที่สองที่ทุกคนใช้เพื่อให้สื่อสารกันได้
ภาษาที่ช่วยให้วีโอเอดำเนินการได้คือภาษาอังกฤษ
ไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่เห็นเจ้าหน้าที่ในส่วนบริการภาษาจีนกลางพูดคุยกับผู้ที่อยู่ในฝ่ายภาษาอุรดู
(ภาษาราชการภาษาหนึ่งของปากีสถาน –
ผู้แปล) ทั้งสองพูดกันด้วยภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษกำลังเป็นภาษาง่ายๆสำหรับผู้คนหลายล้านทั่วโลกและช่วยให้ผู้ที่พูดภาษาแตกต่างกันจำนวนมากสื่อสารกันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น